วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559


  มังคุด ชื่อพันธุ์ พื้นเมือง (Native variety)
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana, L. ชื่อสามัญ Mangosteen
  แหล่งที่มาและประวัติ 
           มังคุดเป็นไม้ป่าในหมู่เกาะซันดา (Sunda Islands) ซึ่งเป็นหมู่เกาะเล็กๆ แถบมลายู (Malay archipelago) แต่ปัจจุบันมีการนำมาปลูกทั่วไปในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกฟิลิปปินส์ตอนใต้ พม่า มาเลเซีย ไทย อินเดียตะวันตกเฉียงใต้ และศรีลังกา นอกจากนี้ ยังมีการปลูกกันบ้างในแถบศูนย์สูตร ของอเมริกา                               
           มังคุดจะนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อไรไม่ปรากฏ มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะฝั่ง- ธนบุรีแถบที่ตั้งโรงพยาบาลศิริราช ณ บัดนี้ เดิมเรียกว่า วังสวนมังคุด  สมัยเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นผลไม้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  เพราะปรากฏในจดหมายเหตุของฑูตชาวลังกา ที่มาขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทชาวลังกา เมื่อประมาณ 212 ปีมานี้ เมื่อคณะฑูตมาถึงธนบุรี ข้าราชการหลายแผนกได้นำทุเรียน มังคุด มะพร้าว และอื่นๆ ให้คณะฑูต แล้วจึงเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา มังคุดจึงเป็นต้นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีการปลูก และบริโภคกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้



      ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤษศาสตร์      4.1 ชนิด มังคุด
     4.2 ประเภท ไม้ผลเมืองร้อน
    4.3 ราก มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีระบบรากเป็นรากแก้ว เกิดจากเมล็ด จะหยั่งลึกลงไปในดินเป็นแนวดิ่ง ต่อจากลำต้น รากแก้วจะชอนไชไปในดินได้ลึก จะงอและขดได้ง่าย เมื่อเลี้ยงไว้ในวัสดุเพาะชำเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ย้ายปลูกลงดิน แต่เมื่อตัดส่วนที่ขดงอออกจะมีรากใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่ได้ โดยแตกออกเป็นหลายราก แล้วเจริญคู่กันไปกับรากเดิมดูเหมือนกับรากแก้ว จะมีบ้างเพียง 1-2 รากที่เป็นรากเล็ก และสั้นคล้ายรากฝอย มังคุด นับว่ามีการพัฒนาของระบบราก ที่จะเจริญแผ่ไปในทางแนวราบในพื้นดินได้น้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมังคุดมีความสามารถพิเศษที่จะสร้างรากแขนงให้เจริญออกจากโคน ต้น ชิดกับพื้นดินได้ ในต้นที่ปลูกจนโตและเริ่มเป็นพุ่มแล้ว รากแขนงที่เกิดใหม่นี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นรากที่ค่อนข้างอวบ สีขาวอมเหลือง จะเจริญแผ่ออกจากโคน-ต้น และค่อยๆ แทงลึกลงไปในดิน เพื่อช่วยยึดลำต้นให้แข็งแรงไม่โค่นล้ม ทั้งยังช่วยหาอาหารเพิ่มเติม  เพื่อให้เกิดความสมดุลกับส่วนทรงพุ่มที่ เจริญขึ้น
    4.4 ต้น มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ต้นโตเต็มที่จะสูงประมาณ 10 - 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 25 - 30 เซ็นติเมตร เปลือกสีดำ มียางเหนียวข้นสีเหลืองอมเขียว ทรงพุ่มแบบ
Pyramidal crown หรือ conical shape ต้นเรียบทรงต้นงามเป็นระเบียบ กิ่งใบหนา ทำมุมฉากกับลำต้น
    4.5 ใบ ใบมังคุดเป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) เกิดแบบตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือแบบ ternate ก้านใบสั้น ใบเป็นแบบ Ovate-elliptic-oblong ฐานใบเป็นแบบ acute, obtuse หรือ rounded ปลายใบแบบ obtuse และ acuminate ขอบใบเรียบ ใบหนา ด้านหลังใบสีเขียวเข้ม หรือเขียวแกม-เหลือง และเป็นมัน ส่วนใต้ใบเป็นสีเขียวแกมเหลืองไม่เป็นมัน ผิวใบเรียบ ยาว 12-23 เซ็นติเมตร กว้าง 4.5 - 10 เซ็นติเมตร เส้นใบแบบ pinnate เส้นกลางใบเห็นชัดเจน กลมนูนทางด้านหลังใบ และเป็นสันทางด้านใต้ใบ เส้นใบออกจากเส้นกลางใบแล้วค่อยๆ ลู่เข้าหาขอบใบ มีประมาณ 35 - 50 คู่ ก้านใบสั้น มองเห็นเป็นชั้นๆ ยาวประมาณ 1.5 - 2 เซ็นติเมตร มีตาข้าง (axillary bud) อยู่ที่โคนก้านใบทุกใบ ส่วนตายอด (terminal bud) อยู่ที่โคนก้านใบคู่สุดท้าย
    4.6 ดอก เป็น unisexual-dioecious หรือ polygamous อย่างไรก็ตาม Baker (1911) ได้  รายงานว่า พบดอกตัวเมีย (female flower) เฉพาะในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เท่านั้น ดอกตัวผู้ (male flower) เกิดที่ปลายกิ่งเป็นกลุ่มดอก มีประมาณ 3-9 ดอก ก้านดอกค่อนข้างยาว กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นรูปถ้วย และมีขนาดกว้าง มี  4  อัน กลีบดอกมี 4 กลีบ อวบ,  หนา  แบบ ovate  ด้านในสีแดงแกมเหลือง ด้านนอกสีค่อนข้างเขียว และมีประสีแดง เกสรตัวผู้มีมากมายอยู่บนกลีบดอก ด้านล่างติดกับส่วนโคนของรังไข่ (rudimentary ovary) ก้านเกสรตัวผู้สั้น อับละอองเกสรแบบ Ovoid - oblong และ โค้งกลับ ส่วน rudimentary ovary หนา  ลักษณะ obconial  และยาวกว่าอับละอองเกสรเล็กน้อย ดอก- ตัวเมีย (female flower) หรือ ดอกสมบูรณ์เพศ(hermaphrodite flewer) มักเกิดที่ปลายกิ่ง ลักษณะของกลีบเลี้ยง และกลีบดอกคล้ายคลึงกับดอกตัวผู้ เกิดเป็นดอกเดี่ยว (Solitary) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 6.2 เซ็นติเมตร ก้านดอกสั้น หนา เป็นรูปเหลี่ยม มีความยาว 1.8 - 2 เซ็นติเมตร หนา 0.7 - 0.9 เซ็นติเมตร กลีบเลี้ยง (sepal) มี 4 กลีบ ซ้อนกัน 2 ชั้น (biserite) ชั้นใน 1 คู่  หุ้มปิดไว้  และถูกหุ้มด้วยชั้นนอกอีก  1  คู่   ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร  สีเขียวแกมเหลือง เป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม มน ชั้นในมีขนาดเล็กกว่า และมีีขอบกลีบ สีแดง กลีบดอก (petal) มี 4 กลีบ รูป obovate มีขนาดกว้างมาก กลมมน อวบหนา สีเขียวแกมเหลือง ขอบกลีบสีแดง หรือเกือบจะเป็นสีแดงตลอดทั้งกลีบ ขนาดประมาณ  2.5 – 3  เซนติเมตร  เกสรตัวผู้เป็นหมัน (staminode) อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อาจมีมากหรือน้อยกว่า 1-3 อัน  อาจยึดติดหรือไม่ยึดกับส่วนโคนของรังไข่ ยาว 0.5 - 0.6 เซ็นติเมตร อับละอองเกสรมีขนาดเล็ก และเป็นหมัน รังไข่ ไม่มีก้าน (sessile) แอ่งเกสรตัวเมีย (stigma) แบ่งเป็นแฉกประมาณ 4-8 แฉก เท่ากับจำนวนช่องในรังไข่
   4.7 ผล เป็นแบบ berry เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 3.5 - 7 เซ็นติเมตร หรือมากกว่า เมื่อสุกจะมีสีม่วงเข้มหรือม่วงแกมน้ำตาล เปลือกหนาประมาณ 0.8-1 เซ็ตติเมตร มีรสฝาดและมียาง  สีเหลือง ผลจัดเป็นแบบ aril fruit เนื้อเกิดจาก integument ภายในผลแบ่งเป็น 4-8 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดภายในหุ้มด้วยเนื้อสีขาวใสอ่อนนุ่มคล้ายวุ้น มีเส้น Vain สีชมพูติดอยู่ เนื้อมีสีน้ำตาลประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย Sacharase, dextrose และ levulose มีกรดและสารอื่นๆ ประกอบ ทำให้มีกลิ่น และรสน่ารับประทาน การเรียงตัวของกลีบคล้ายกับการเรียงตัวของกลีบส้ม ในแต่ละผลจะมีเมล็ดที่เจริญสมบูรณ์ 1-3 เมล็ดเท่านั้น ที่เหลือมักลีบไป ค่าเฉลี่ยเมล็ดที่สมบูรณ์ของมังคุดประมาณ 1.6 เมล็ด สำหรับผลมีน้ำหนัก 54.5-79.5 กรัม หรือมากกว่า ผลหนึ่งๆ มีเนื้อประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ มังคุดต้นหนึ่งๆ จะออกผลอย่างน้อย 100 ผล และมากกว่า 500-600 ผล ในประเทศศรีลังกา มังคุดสุกปีละ  2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนมกราคม ครั้งหลังในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ในตรินิแดด ให้ผลในราวเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม
    4.8 เมล็ด รูปร่างคล้ายเปลือกหอย มี 2 ฝา เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลบางใส ผิวเมล็ดขรุขระ มีร่องเริ่มจาก Hilum มาจนสุดเมล็ด แตกได้ง่าย มีอายุการเก็บสั้น และความแข็งแรงของเมล็ดที่ Hume กล่าวว่า การกระจายของมังคุดไปยังถิ่นต่างๆ ถูกจำกัด เนื่องจาก อายุของเมล็ดสั้นมาก เมล็ดที่อยู่ในผลจะมีอายุได้ 3-5 สัปดาห์ แต่ถ้าอยู่นอกผลโดยไม่เก็บไว้ในที่ชื้นจะมีอายุได้เพียง 2-3 วัน เท่านั้น ที่จริงแล้วเมล็ดมังคุดไม่ใช่เมล็ดที่แท้จริง เป็นเพียงส่วนที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเพศเมีย (female tissue) เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีทั้ง embryo และ cotyledous เชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียว แต่อาจมีการผันแปรบ้าง เช่นพันธุ์ที่ให้ผลสุกช้ากว่าทั่วไป ซึ่งเป็นรายงานจากพม่า และอีกพันธุ์หนึ่งมีกรด มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นรายงานของชวา แต่การผันแปรเช่นนี้มีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะเมล็ดที่ใช้ในการขยายพันธุ์นั้นเป็นส่วนที่เจริญ โดยไม่มีการผสมและเป็น polyembryony ต้นกล้าที่ได้ ซึ่งไม่ได้มาจาก Zygote แต่เป็น nucellar seedling ซึ่งตรงตามพันธุ์ของต้นแม่ ในประเทศไทย นิวัฒน์ พ้นชั่ว เกษตรกรสวนมังคุดกล่าวว่า จากการที่ได้ศึกษาอย่างใกล้ชิดแล้ว สามารถแบ่งมังคุดเป็น 2 พวก คือ มังคุดเมืองนนท์ และมังคุดปักษ์ใต้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน คือ มังคุดเมืองนนท์ ใบมีลักษณะเรียว ผลเล็ก ขั้วผลเล็ก และยาว เปลือกบาง กลีบที่ปลายขั้วมีสีแดง ผลสุกมีสีม่วงดำ และมังคุดปักษ์ใต้ ใบลักษณะอ้วนป้อม ผลใหญ่ ขั้วผล-สั้น เปลือกหนา กลีบที่ปลายขั้วสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดงอมชมพู และผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้ช้ากว่า มังคุดเมืองนนท์
ประโยชน์ของมังคุด
1.รับประทานสดเป็นผลไม้ หรือทำเป็นน้ำผลไม้ อย่าง น้ำมังคุด และน้ำเปลือกมังคุด
2.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
3.มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่างๆได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ
4.ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
5.ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
6.มีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
7.ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
8.ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
9.มังคุดรักษาสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยัยยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
10.มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
11.ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
12.การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ
13.สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด ทีเอช 1 และ ทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
14.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
15.ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
16.ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหัวใจ
17.ช่วยลดความดันโลหิต
18.ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
19.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด
20.มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย
21.มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาล
22.ช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้
23.มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
24.มีส่วนช่วยบำรุงและรักษาสายตา
25.ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง
26.ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
27.ช่วยรักษาและสมานแผลในช่องปากหรือปากแตกให้หายเร็วยิ่งขึ้น
28.ไฟเบอร์จากมุงคุดช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
29.ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะและการดูดซึมอาหารบกพร่อง
30.สรรพคุณมังคุด ในทางสมุนไพรจะช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ นำมาฝนกับน้ำปูนใส
31.ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เปลือกสดหรือแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเหมือนกัน
32.ช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในสภาวะปกติ
33.ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
34.มีส่วนช่วยป้องกันอาการตับเสื่อม ไตวาย
35.ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
36.เปลือกของมังคุดมีสารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว
37.ช่วยต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และไวรัสต่างๆ อย่างเชื้อวัณโรค เชื้อ HIV เป็นต้น
38.ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (เปลือก)
39.ช่วยยับยั้งการเกิดและใช้รักษาโรคผิวหนังต่างๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่างๆ ด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น
40.มังคุดสรรพคุณ ทางยาสมุนไพรใช้เพื่อรักอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
41.เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
42.นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
43.นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ท๊อฟฟี่มังคุด
44.มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
45.นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
       
        ผักบุ้งไทย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) 
        มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica พบได้บริเวณแม่น้ำลำคลองเพราะเจริญเติบโตในน้ำได้ดีกว่าบนดิน มักสานตัวเป็นกลุ่มและลอยตัวบนผิวน้ำ ชูส่วนยอดหรือบริเวณสีเขียวเพื่อสังเคราะห์แสง โดยทั่วไปแล้วผักบุ้งไทยได้รับความนิยมในการนำมาประกอบอาหารน้อยกว่าผักบุ้งจีน เพราะลำต้นมีความแข็งมากกว่าและนิยมนำมาประกอบอาหารบางประเภทเท่านั้น

ผักบุ้งไทย มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ชาวตะวันตกเรียกผักบุ้งไทยว่าผักขมแม่น้ำ (river spinach) และมอนิ่งกลอรี่น้ำ (water morning glory) ขึ้นอยู่กับบุคคล ถิ่นกำเนิดของผักบุ้งไทยอยู่ในเขตร้อน ผักบุ้งไทยเป็นไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือในดินที่มีความชื้นแฉะมากๆ ลำต้นกลวงสีเขียวเพราะต้องใช้ในการสังเคราะห์แสงร่วมกับใบ และมีข้อปล้องชัดเจนและมีรากงอกออกมาตามข้อปล้องต่างๆ (ที่ลำต้นกลวงเพื่อให้ลอยน้ำได้) เมล็ดพันธุ์มีสีดำลักษณะกลม มีใบเดี่ยวสีเขียวคล้ายหัวลูกศรเรียวยาวและฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจยาว 3-15 เซนติเมตร กว้าง 3-9 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นช่อดอกลักษณะทรงระฆังต่างจากผักบุ้งจีน ที่เป็นทรงกรวย โดยออกตามซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี ได้แก่ สีขาว สีม่วงแดง และสีชมพูกลีบม่วง การขยายพันธุ์สามารถนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกหรือแยกกิ่งแก่ไปปักชำได้เช่นเดียวกัน
                                                                    ปลูกแบบธรรมชาติ

                                                                     ปลูกแบบทำไร่


          สรรพคุณทางยา ผัก บุ้งรสเย็นสรรพคุณถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้งโดยเฉพาะผักบุ้งแดงคนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อย ๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้นจะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะ ฯ 


           ปัจจุบันนิยมนำมาผัดน้ำมันหอย เรียกว่า ผักบุ้งไฟแดง 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เน็ต 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์       Neptumia  oleracea Lour. FL.
ชื่อโดยทั่วไป      ผักกระเฉด   Water mimosa  (ดูจากชื่อในภาษาอังกฤษ เห็นคำว่า water นำหน้ารู้แล้วใช่ไหมครับว่าผัก  กระเฉดจะขึ้นที่ไหน?)
ชื่อวงศ์     MIMOSACEAE
ชื่อเรียกตามภูมิภาค         ผักหละหนอง  ผักหนอง ( แม่ฮ่องสอน หรือทางภาคเหนือ )  ผักรู้นอน ( ภาคกลาง  ) ผัดฉีด ( ภาคใต้ ) ผักกระเสดน้ำ (อุดรธานี-ยโสธร หรือภาคอิสาน )
ลักษณะผักกระเฉด
กระเฉดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลมเนื้อนิ่ม ใบประกอบคล้ายใบกระถิน ใบจะหุบลงในเวลากลางคืน จึงเรียกว่า"ผักรู้นอน" ระหว่างข้อมีปอดเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้น ช่วยพยุงให้กระเฉดลอยน้ำได้และช่วยดึงไนโตรเจนจากอากาศไปเลี้ยงยอด เรียกว่า "นมผักกระเฉด" มีรากงอกออกตามข้อ ดอกเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลืองเป็นพืชที่มีโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต และมีแร่ธาตุ วิตามินหลายชนิด ผลเป็นฝัก มีลักษณะแบน มีเมล็ด 4-10 เมล็ด


        สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของผักกระเฉด
       นอกจากสรรพคุณด้านโภชนาการแล้ว ผักกระเฉดยังมีสรรพคุณด้านการเป้นสมุนไพรอยู่ด้วย กล่าวคือตามตำราสมุนไพรไทย ผักกระเฉดเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ และนอกจากนั้นยังมีสูตรยาโบราณ ที่นำผักกระเฉด ตำผสมกับสุราแล้วหยอดบริเวณฝันที่ปวด ซึ่งเชื่อว่าสามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ ผักกระเฉดมีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งเจ้าวิตามินเอนั้น มีความสำคัญกับตา ช่วยในการมองเห็นโดยเฉพาะภาวะที่มีแสงน้อย นอกจากนั้นวิตามินเอในผักกระเฉด ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างเป้นปรกติ และที่สำคัญยังในการเจริญโตและ ช่วยในระบบสืบพันธ์ ใครไม่อยากเป็นหมันก็อย่าลืมผักกระเฉด
      ผักกระเฉด คนไทยนิยมนำมาผัดกับน้ำมันหอย เครื่องเคียงมีเพียง กระเทียม พริก ใส่เครื่องปรุงประเภทซีอิ๋วเล็กน้อยก็นำมารับประทานได้แล้ว
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เน็ต

ชื่อสมุนไพร
ส้มกบ
ชื่ออื่นๆ
ผักแว่น ส้มกบ ผักแว่นเมืองจีน (กลาง) สังส้ม (แพร่) ส้มดิน หญ้าตานทราย ส้มสังก๋า (เหนือ) ส้มสามตา ส้มสามง่า เกล็ดหอยจีน (กรุงเทพฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Oxalis corniculata L.
ชื่อพ้อง
O. albicans Kunth, O. bradei R. Knuth, O. foliosa Blatt., O. grenadensis Urb., O. herpestica Schltdl., O. langloisii (Small) Fedde, O. lupulina Kunth, O. meridensis Pittier, O. minima Steud., O. nematodes Spreng., O. parvifolia DC., O. pilosiuscula Kunth, O. procumbens Steud. ex A. Rich., O. pubescens Stokes, O. radicosa A. Rich., O. repens Thunb., O. simulans Baker, O. steudeliana Kunth, O. taiwanensis (Masam.) Masam., O. trinidadensis R. Knuth, O. villosa M.Bieb. Acetosella bakeriana Kuntze, A. corniculata (L.) Kuntze, A. fontana (Bunge) Kuntze, A. herpestica (Schltdl.) Kuntze, A. stricta (L.) Kuntze, A. villosa (Progel) Kuntze Xanthoxalis albicans (Kunth) Small, X. corniculata (L.) Small, X. filiformis (Kunth) Holub , X. langloisii Small, X. parvifolia (DC.) Holub, X. repens (Thunb.) Moldenke, X. trinidadensis (R. Knuth) Holub
ชื่อวงศ์
Oxalidaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์          
             พืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้เถาขนาดเล็กเลื้อยไปตามพื้นดิน มีรากออกตามข้อ ลำต้นยาว 5-20 เซนติเมตร ลำต้นเล็กสีแดง ฉ่ำน้ำ ไม่แตกกิ่งก้าน ชอบขึ้นตามที่ลุ่มต่ำชื้นแฉะใบ เป็นใบประกอบมี 3 ใบย่อย ออกที่ปลายยอด แบบเรียงสลับ ใบย่อยทั้งสามออกแบบสมมาตร ใบย่อยรูปหัวใจกลับ กว้าง 5-18 มิลลิเมตร ยาว 4-20 มิลลิเมตร โคนใบสอบ ปลายใบเว้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 4-10 เซนติเมตร หูใบมีขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมมุมฉากถึงรูปคล้ายติ่งหู ดอกเล็กสีเหลืองสด ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อซี่ร่มเล็ก 1-5 ดอก มีดอกไม่มาก ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร ใบประดับรูปใบหอกแกมเส้นตรงขนาด 2-4 × 1 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองสด รูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 2-6 มิลลิเมตร ยาว 4-10 มิลลิเมตร โคนเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปหอกแกมขอบขนาน ขนาด 3.5-5 × 1.2-2 มิลลิเมตร มีขนครุยที่ขอบกลีบ โดยเฉพาะที่ปลายกลีบ ก้านดอกย่อยยาว 4-15 มิลลิเมตร มีขนแข็งเอนหนาแน่น ผล เป็นผลแห้งแบบแคปซูล แก่แล้วแตกออกได้ตามแนว ผลรูปทรงกระบอกแคบ มีสันตามยาวผล 5 สัน ปลายผลแหลม ปกคลุมด้วยขน กว้าง 2-4 มิลลิเมตร ยาว 10-25 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล เมล็ดรูปไข่ แบน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ขนาด 1-1.5 × 0.8-1  มิลลิเมตร สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแดง มี 5-11 เมล็ดต่อช่อง พบขึ้นได้ทั่วไปตามที่โล่ง มักขึ้นเป็นวัชพืช โดยเฉพาะบริเวณที่ชื้น หรือมีน้ำขังตื้นๆ ตามข้างทาง ทุ่งหญ้าหรือในสวน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,500 เมตร ออกดอกและติดผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม



สรรพคุณ  
              ตำรายาไทย ใบ เป็นยาเย็นดับพิษ มีรสเปรี้ยว เป็นยาธาตุ เจริญอาหาร ใช้ทาภายนอก เพื่อขจัดตาปลา หูด และเนื้อปูดชนิดอื่นๆ โขลกกับสุราใช้กากปิดแก้ปวดฝี แก้บวม ชุบสำลีอมข้างแก้ม แก้ฝีในคอ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ไข้ เป็นยาถอนพิษทั่วไป  น้ำคั้นจากใบ แก้เจ็บคอ การกินใบมากทำให้คลื่นไส้ได้ ทั้งต้น รสเย็น เปรี้ยวเค็มหวานเล็กน้อย ดับพิษร้อนใน แก้ฝีในคอ แก้อาเจียนเป็นเลือด ตำพอกเท้าแก้ปวด ถอนพิษทำให้เย็น ตำอมแก้ฝีในคอ แก้ช้ำใน ฟกช้ำ แก้ปวดท้อง แก้หวัดร้อน  แก้ปวดเมื่อยรูมาติก แก้อุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด แก้เคล็ดขัดยอก เจ็บคอ ปวดฟัน ใช้หยอดตาแก้เจ็บตาระคายเคือง ตำกับต้นกะเม็งทาแก้ปากนกกระจอก
             ในอินโดนีเซียใช้ ใบ ผสมหัวหอมและเกลือ รับประทานแก้ปวดท้อง
             ในออสเตรเลียพืชนี้ทำให้แกะตาย โดยมีอาการตัวสั่น และเดินไม่ตรงทาง เนื่องจากแคลเซียในเลือดลดลง

องค์ประกอบทางเคมี
             ใบพบสาร tartaric acid, citric acid, acid potassium oxalate, วิตามินซี, carotene

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เน็ต

ชื่อสมุนไพร
ชะเอมไทย
ชื่ออื่นๆ
ชะเอมป่า(กลาง) ตาลอ้อย(ตราด) ส้มป่อยหวาน(พายัพ) อ้อยช้าง(สงขลา) นราธิวาส อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี) กอกกั๋น ย่านงาย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Albizia myriophylla Benth.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Leguminosae- Mimosaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้เถายืนต้นขนาดกลาง สูง 5-8 เมตร มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา ใบเล็กละเอียดเป็นฝอย เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาว 10-15 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปขอบขนาน มีขนที่ขอบใบ ผิวค่อนข้างเกลี้ยง เส้นใบ 3-5 คู่ แต่ไม่ชัดเจน ไม่มีก้านใบย่อย ก้านใบหลักยาว 1.5-2.7 ซม. มีขนหนาแน่น เหนือโคนก้านใบเล็กน้อยมีต่อม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาว 1.3-2.3 ซม. มีขนยาวกระจายทั่วไป ดอก 7-12 ดอก ดอกรวมเป็นกระจุกที่ปลายก้าน กลีบเลี้ยง หลอดกลีบกว้างไม่เกิน 1 มม. ยาว 1 มม. ปลายแฉกยาว ¼ ของความยาวหลอดกลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอกมีขนาดเล็ก เชื่อมกันเป็นหลอด หลอดกลีบกว้าง 1.0-1.5 มม. ยาว 2.5-3.0 มม. ปลายแฉกกว้าง 1 มม. ยาว 2.0-2.5 มม. สีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้ยาว สีขาว 10 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมกันสูง 2.5-3.0 มม. ปลายแยกกันยาว 1.3-1.6 ซม. สีขาว เกสรเพศเมีย รังไข่ยาว 2.0-2.5 มม. มี 9-10 ออวุล ก้านรังไข่ยาว 1 มม. ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาว 10.5-18.0 มม. สีขาว ผลเป็นฝัก แบน ปลายแหลม กว้าง 2.3-2.5 ซม. ยาว 7.2-15.2 ซม. โคนและปลายแหลม มีเมล็ดนูนเห็นได้ชัด ประมาณ 3-10 เมล็ดต่อฝัก ก้านผลยาว 2.5 เซนติเมตร มีขนหนาแน่น ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลืองถึงน้ำตาลเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 5-8 มม. ตรงบริเวณที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัด พบตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าโปร่งทั่วไป ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ติดผลราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม


สรรพคุณ                 
              ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้ ลำต้น เข้ากับเครือไส้ไก่ เครือหมาว้อ เครือตากวง ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ ราก ช่วยแก้กระหาย ยาระบาย เนื้อไม้ บรรเทาอาการเจ็บคอ
             ตำรายาไทย  ใช้ เนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในลำคอ แก้ลม แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงธาตุและบำรุงกำลัง บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ต้น รสหวานเอียน ถ่ายลม แก้โรคในคอ ทำผิวหนังให้สดชื่น แก้โรคตา ราก มีรสหวาน ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ และเป็นยาระบาย มีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้โลหิตอันเน่าในอุทร และเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น แก้กำเดาให้เป็นปกติ ใบ รสร้อนเฝื่อน ขับโลหิตระดู ดอก รสขมร้อน ช่วยย่อยอาหาร ทำเสมหะให้งวด แก้ดี และโลหิต ผล ขับเสมหะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เน็ต
ชื่อสมุนไพร
มะเฟือง
ชื่ออื่นๆ
มะเฟืองส้ม (สกลนคร) มะเฟืองเปรี้ยว สะบือ เฟือง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Averrhoa carambola Linn.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Oxalidaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-12 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสั้น เรือนยอดแน่นทึบ ลำต้นสีน้ำตาลอมแดง ผิวขรุขระ ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ แต่ละใบมีใบย่อย 3-11 ใบ ใบย่อยออกตรงข้ามกัน หรือเรียงสลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน แถบใบหอก กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 3-9 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน ใบอ่อนสีเขียวอมแดง ใบย่อยตรงปลายใบมีขนาดใหญ่ ดอกช่อขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ กลีบดอกสีชมพู ถึงม่วงแดง แต่ตอนโคนกลีบสีซีดจางเกือบขาว ปลายกลีบโค้งงอน ออกตามซอกใบที่มีใบติดอยู่ หรือใบร่วงหลุดไปแล้ว หรืออาจจะออกตามลำต้น กลีบเลี้ยงสีม่วงมี 5 กลีบ ปลายแหลม ก้านชูช่อดอกมีสีม่วง ผลสด รูปกลมรี อวบน้ำ มีสันเด่นชัด ลักษณะเป็นกลีบขึ้นเป็นเฟือง 5 เฟือง มองเห็นเป็นสันโดยรอบผล 5 สัน เมื่อผ่าตามขวางจะเป็นรูปดาว 5 แฉก ยาว 7-14 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอ่อนอมส้ม เป็นมันลื่น เนื้อผลลักษณะชุ่มน้ำ รสหวานอมเปรี้ยวรับประทานได้ เมล็ดแบนสีดำ ยาวเรียวขนาด 0.5 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด ผลและยอดอ่อนใช้รับประทานได้ ให้ผลตลอดปี บางชนิดรสหวาน บางชนิดรสเปรี้ยว ผลกินได้ทั้งขณะผลอ่อน และผลสุกแล้ว พบปลูกตามบ้านเรือน เรือกสวนทั่วไปเพื่อรับประทานผล

สรรพคุณ    
             ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  รากและแก่น เข้ายากับหญ้าหวายนา หญ้าแห้วหมู ข้าวโพด และเมล็ดฝ้าย ต้มน้ำดื่ม แก้นิ่ว ใบ ใบมะยมตัวผู้ และใบหมากผู้หมากเมีย ต้มน้ำอาบ แก้อีสุกอีไส ใบ และราก แก้ไข้ ผล ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
            ตำรายาไทย  ใช้   ใบ รสจืดมันเย็น ต้มดื่มดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด บดทาหรือพอก แก้เม็ดผดผื่นคัน ต้มน้ำอาบแก้ตุ่มคัน บวม แผลมีหนอง ห้ามเลือด แก้ปวด ถอนพิษแมงมุม แก้พิษงู นำใบสดมาตำให้ละเอียด ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้ปวดฟัน และใช้ทารักษาอีกสุกอีใส ใบและราก เป็นยาเย็น ใช้ใบและรากสด นำมาต้มเอาน้ำเป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้กาฬขึ้นภายนอกภายใน แก้พิษสำแดง  ใช้ใบและผลสด นำมาต้มกินเป็นยาแก้ไข้ แก้อาเจียน ยอด ผสมกับรากมะพร้าว แก้ไข้หวัดใหญ่ แก่น ราก ต้มกิน แก้ท้องร่วง แก้เจ็บเส้นเอ็น ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น  รับประทานแก้ไอ แก้ไข้ ระงับความร้อน ถอนพิษผิดสำแดง แก้คอแห้ง แก้กระหายน้ำ แก้อาเจียน แก้ปอด ขับเสมหะ ขับน้ำลาย ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้กามโรค แก้บิด แก้ท้องร่วง ลดการอักเสบ บวม แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เลือดออกตามไรฟัน ใช้สระผม บำรุงเส้นผม ขจัดรังแค คั้นเอาน้ำจากผลกินแก้ไข้ แก้เมา แก้ม้ามโตเนื่องจากไข้ป่า ผสมสารส้ม หรือสุราดื่มขับนิ่ว แก้หนองใน ขับเลือดเสีย กินมากขับระดู ทำให้แท้ง ดอก รสจืดเย็น ต้มดื่ม แก้ไข้ ขับพยาธิ ถอนพิษเฮโรอีน ทาแก้แพ้ เปลือกต้น รสฝาดเมา แก้ไข้ท้องเสีย ดับพิษแผลปวดแสบปวดร้อน เปลือกลำต้นชั้นใน นำมาปรุงเป็นยาผสมกับไม้จันทน์ และชะลูด ใช้ทาภายนอกแก้ผดผื่นคัน ราก รสหวานเย็น ต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ปวดแสบกระเพาะอาหาร จุกแน่นอก

ข้อควรระวัง   
            สตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานผลมะเฟือง เพราะอาจจะทำให้แท้งลูกได้
 ขอบคุณข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เน็ต


ชื่อสมุนไพร
ส้มโอมือ
ชื่ออื่นๆ
ส้มมือ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Citrus medica L. var. sarcodactylis (Hoola van Nooten) Swingle.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Rutaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-4 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล ตามลำต้นและกิ่งมีหนามยาวแข็ง ใบเป็นใบประกอบแบบลดรูป ใบย่อยมีใบเดียว ออกเรียงสลับ มีขนาดกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน หลังใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกออกเดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 2-3 ดอก ออกตามซอกใบและกิ่ง ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกด้านนอกมีสีม่วงแดง หลุดร่วงง่าย กลีบเลี้ยวมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้เป็นเส้นสีขาวมีจำนวนมาก ผลรูปทรงรีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร ยาว 12-15 เซนติเมตร ปลายผลเป็นแฉกงอคล้ายนิ้วมือ ผิวขรุขระเป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง ภายในผลมีสีขาวเหมือนเปลือกส้มโอ ไม่มีเนื้อผล และเมล็ด

สรรพคุณ    
              ตำรายาไทย ใช้เปลือกแห้ง ผิวผล มีน้ำมันหอมระเหย ทำยาดมส้มโอมือ สำหรับแก้หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน น้ำจากผล มีรสเปรี้ยวคล้ายมะกรูด มีวิตามินซีสูง กินเป็นยาฟอกเลือด ประจำเดือนสตรี ใช้ผสมเป็นยากัดเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

ชื่อสมุนไพร
ส้มป่อย
ชื่ออื่นๆ
ส้มป่อย (นครราชสีมา ภาคเหนือ) ส้มพอดี (ภาคอีสาน) ส้มขอน (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Acacia concinna (Willd.) DC.
ชื่อพ้อง
A. hooperiana Miq., A. philippinarium Benth., A. poilanei Gagnep., A. polycephala DC., A. quisumbingii Merr., A. rugata (Lam.) Merr., Guilandina microphylla DC., Mimosa concinna Willd. ,M. rugata Lam., Nygae sylvarum-minimae Rumph.
ชื่อวงศ์
Leguminosae-Mimosoideae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้พุ่มรอเลื้อย พาดพันต้นไม้อื่น สูง 3-6 เมตร เถามีเนื้อแข็ง ผิวเรียบสีน้ำตาล ขนาดใหญ่ มีหนามเล็กแหลมตามลำต้น กิ่งก้านและใบ ไม่มีมือเกาะจะเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถาอ่อนสีน้ำตาลแดง มีขนกำมะหยี่หรือขนสั้นหนานุ่ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ช่อใบย่อย 5-10 คู่ ใบย่อย 10-35 คู่ ต่อช่อ ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ออกเรียงตรงข้าม ปลายใบมนหรือแหลม ที่ปลายเป็นติ่งหนามแหลมอ่อนโค้ง โคนใบตัด ขอบใบหนาเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 3.6-5.0 ซม. มีขนสั้นนุ่มและหนาแน่น พบก้อนนูนสีน้ำตาลคล้ายต่อม 1 อัน อยู่ที่โคนก้านใบ แกนกลางยาว 6.6-8.5 ซม. ก้านใบย่อยสั้นมาก ยาว 0.5 มม. หรือน้อยกว่า เกลี้ยง และมีขนนุ่มหนาแน่น ดอกเป็นช่อกระจุกกลม ออกตามซอกใบข้างลำต้น 1-3 ช่อดอกต่อข้อ ขนาด 0.7-1.3 ซม. มี 35-45 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2.5-3.2 มม. มีขนนุ่มหนาแน่น ใบประดับดอก 1 อัน รูปแถบ ยาวไม่เกิน 1 มม. โคนสอบเรียว สีแดง มีขนกระจายทั่วไป ดอกขนาดเล็กอัดแน่นอยู่เป็นแกนดอก กลีบดอกเป็นหลอด สีขาวนวล กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง หลอดกลีบกว้าง 1.0-1.5 มม.ยาว 2.5-3.0 ซม. ปลายแหลม สีแดง อาจมีสีขาวปนเล็กน้อย กลีบดอก หลอดกลีบกว้าง 1.0-1.5 มม. ยาว 3.5-4.0 มม. มีขนเล็กน้อยที่ปลายกลีบ เกสรเพศผู้ 200-250 อัน ยาว 4-6 มม. เกสรเพศเมีย รังไข่ยาว 1 มม. มี 10-12 ออวุล มีก้านรังไข่ยาว 1 มม. ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาว 2.5-3.5 มม. สีขาวอมเหลืองหรือสีเขียวอมเหลือง ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน แบนยาว หนา ขนาด กว้าง 1.3-1.4 ซม. ยาว 7.0-9.3 ซม. ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมแดง เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้ม ผิวฝักเป็นลอนคลื่นเป็นข้อ ปลายฝักมีหางแหลม สันฝักหนา ผิวย่นมากเมื่อแห้ง ก้านผลยาว 2.8-3.0 ซม. แต่ละผลมี 5-12 เมล็ดเมล็ดสีดำ แบนรี ผิวมัน กว้าง 4-5 มม. ยาว 7-8 มม. ออกดอกราวเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม พบตามป่าคืนสภาพ ป่าเบญจพรรณ และที่รกร้างทั่วไป

สรรพคุณ
              ตำรายาไทย ฝัก รสเปรี้ยว มีสารซาโปนินสูง ตีกับน้ำจะเกิดฟองที่คงทน ฝักแก่ใช้ต้มเอาน้ำสระผมช่วยขจัดรังแค บำรุงผม เป็นยาปลูกผมและกำจัดรังแค ต้มอาบน้ำหลังคลอด ตำพอกหรือชุบสำลีปิดแผลโรคผิวหนัง ใช้ทำขี้ผึ้งปิดแผลแก้โรคผิวหนัง ฝักปิ้งให้เหลือง ชงน้ำจิบเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ต้มน้ำดื่มแก้ไข้มาลาเรีย ทำให้อาเจียน ต้มหรือบดกินเป็นยาถ่าย  เปลือกฝัก รสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า ช่วยเจริญอาหาร กัดเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก ต้น รสเปรี้ยวฝาด เป็นยาระบาย แก้โรคตาแดง แก้น้ำตาพิการ ใบ รสเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย ต้มดื่ม ขับเสมหะ ขับระดูขาว แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต แก้บิด ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้โรคตา ตำประคบให้เส้นเอ็นหย่อน ยอดอ่อน นำมาต้มน้ำ และผสมกับน้ำผึ้งดื่มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ หรือนำมาตำรวมกับขมิ้นอ้อย แล้วใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย หมกไฟพออุ่น นำไปพอกแก้ฝี ดอก รสเปรี้ยว ฝาด มัน แก้เส้นเอ็นที่พิการให้สมบูรณ์ ใบและฝัก ต้มอาบ ทำความสะอาด บำรุงผิว ราก รสขม แก้ไข้ ยอดอ่อน ใบอ่อน มีรสเปรี้ยว รับประทานเป็นผักสด นำมาปรุงอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้

องค์ประกอบทางเคมี
             ฝักมีสารซาโปนิน 20.8% ได้แก่ acasinin A, B, C, D และ E 

ปัจจุบันมีการเอามาทำเป็นสมุนไพรลดความอ้วน

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต


ชื่อสมุนไพร
สมอไทย
ชื่ออื่นๆ
สมอ (นครราชสีมา) ม่าแน่ (เชียงใหม่) สมอไทย สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (แม่ฮ่องสอน) มะน่ะ หมากนะ ส้มมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Terminalia chebula Retz.
ชื่อพ้อง
T. acuta Walp., T. gangetica Roxb., T. parviflora Thwaites, T. reticulata Roth, T. zeylanica Van Heurck & Müll. Arg., Buceras chebula (Retz.) Lyons, Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn., M. gangetica (Roxb.) Kostel.
ชื่อวงศ์
Combretaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 20-30 เมตร เรือนยอดกลมกว้าง เปลือกต้นขรุขระ สีเทาอมดำ เปลือกในสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีแดง กิ่งอ่อนสีเหลืองหรือสีเหลืองแกมน้ำตาล มีขนคล้ายไหม เปลือกแตกเป็นสะเก็ดห่างๆ ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปรีกว้าง กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-18 ซม.ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนกลมหรือกึ่งตัด หรือบางครั้งเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นเงามันมีขนเล็กน้อย ผิวด้านล่างมีขนคล้ายไหมถึงขนสั้นหนานุ่ม เมื่อแก่เกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ข้างละ 5-8 เส้น ก้านใบยาว 1.5-3 ซม. มีขนคล้ายไหม มีต่อม 1 คู่ ใกล้โคนใบ ดอกออกเป็นช่อคล้ายช่อเชิงลดหรือช่อแยกแขนง มี 3-5 ช่อ สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ  มักจะออกพร้อมๆกับใบอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 5-8.5 ซม. ไม่มีก้านช่อดอก หรือก้านช่อดอกสั้น แกนกลางสั้นและเปราะ มีขนสั้นนุ่ม ดอกสมบูรณ์เพศขนาดเล็ก 0.3-0.4 ซม. ไม่มีกลีบดอก ส่วนบนเป็นรูปถ้วยตื้นมีขนคลุมด้านนอก ใบประดับรูปแถบ ยาว 3.5-4 มม. ปลายแหลม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก เกลี้ยง รูปคล้ายสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้มี 10 อัน ยื่นพ้นหลอดกลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณู ยาว 3-3.5 มม. เกลี้ยง จานฐานดอกมีขน เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2-3.5 มม. รังไข่เกลี้ยง หมอนรองดอกมีพูและขนหนาแน่น ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือเกือบกลม กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ผิวเกลี้ยง หรือมีสันตื้น ๆ ตามยาว 5 สัน เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลแดง เมล็ดแข็ง มี 1 เมล็ด รูปยาวรี ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือพบตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1,000 เมตร


              สรรพคุณ
              ตำรายาไทยใช้ ผล รสเปรี้ยวฝาด ขมชุ่ม เป็นยาสุขุม ผลอ่อนจะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย และสมานลำไส้ ผลแก่จะมีฤทธิ์ฝาดสมาน นอกจากนี้ยังใช้อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ออกฤทธิ์ต่อปอด กระเพาะ และลำไส้ ใช้เป็นยาสมานลำไส้ ห้ามเลือดทั้งภายในและภายนอก เป็นยาละลายเสมหะ ขับเสมหะ ทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้หลอดลมอักเสบ คออักเสบ เสียงแหบ แก้ไอ ลิ้นไก่อักเสบ แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ท้องผูก โรคท้องมาน แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร เลือดออก สมานแผลในลำไส้ แก้ท้องเสีย เป็นยาระบายรู้ถ่ายรู้ปิด แก้บิดเรื้อรัง แก้กามเคลื่อน แก้สตรีตกเลือด ปัสสาวะบ่อย และเป็นยาเจริญอาหาร    เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง เป็นยาบำรุง แก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย นำผลมาบดละเอียดโรยแผลเรื้อรัง แก้ลมจุกเสียด ช่วยเจริญอาหาร เนื้อหุ้มเมล็ด แก้ท้องผูก แก้บิด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี ตับม้ามโต โรคท้องมาน อาเจียน อาการสะอึก โรคหืด และท้องร่วงเรื้อรัง เปลือกต้น ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย เปลือกต้นและแก่น แก้ท้องเสีย ทั้งต้น ขับเสมหะ แก้เสียวคอ แก้ท้องผูก เป็นยาฝาดสมาน ดอก รักษาโรคบิด

องค์ประกอบทางเคมี
           ผลพบสาร gallic acid, chebulic acid, chebulinic acid, chebulagic acid, corilagin, terchebin, glucogallin, ellagic acid, sennoside A, chebulin, catechol, tannic acid