วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559


  มังคุด ชื่อพันธุ์ พื้นเมือง (Native variety)
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana, L. ชื่อสามัญ Mangosteen
  แหล่งที่มาและประวัติ 
           มังคุดเป็นไม้ป่าในหมู่เกาะซันดา (Sunda Islands) ซึ่งเป็นหมู่เกาะเล็กๆ แถบมลายู (Malay archipelago) แต่ปัจจุบันมีการนำมาปลูกทั่วไปในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกฟิลิปปินส์ตอนใต้ พม่า มาเลเซีย ไทย อินเดียตะวันตกเฉียงใต้ และศรีลังกา นอกจากนี้ ยังมีการปลูกกันบ้างในแถบศูนย์สูตร ของอเมริกา                               
           มังคุดจะนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อไรไม่ปรากฏ มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะฝั่ง- ธนบุรีแถบที่ตั้งโรงพยาบาลศิริราช ณ บัดนี้ เดิมเรียกว่า วังสวนมังคุด  สมัยเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นผลไม้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  เพราะปรากฏในจดหมายเหตุของฑูตชาวลังกา ที่มาขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทชาวลังกา เมื่อประมาณ 212 ปีมานี้ เมื่อคณะฑูตมาถึงธนบุรี ข้าราชการหลายแผนกได้นำทุเรียน มังคุด มะพร้าว และอื่นๆ ให้คณะฑูต แล้วจึงเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา มังคุดจึงเป็นต้นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีการปลูก และบริโภคกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้



      ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤษศาสตร์      4.1 ชนิด มังคุด
     4.2 ประเภท ไม้ผลเมืองร้อน
    4.3 ราก มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีระบบรากเป็นรากแก้ว เกิดจากเมล็ด จะหยั่งลึกลงไปในดินเป็นแนวดิ่ง ต่อจากลำต้น รากแก้วจะชอนไชไปในดินได้ลึก จะงอและขดได้ง่าย เมื่อเลี้ยงไว้ในวัสดุเพาะชำเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ย้ายปลูกลงดิน แต่เมื่อตัดส่วนที่ขดงอออกจะมีรากใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่ได้ โดยแตกออกเป็นหลายราก แล้วเจริญคู่กันไปกับรากเดิมดูเหมือนกับรากแก้ว จะมีบ้างเพียง 1-2 รากที่เป็นรากเล็ก และสั้นคล้ายรากฝอย มังคุด นับว่ามีการพัฒนาของระบบราก ที่จะเจริญแผ่ไปในทางแนวราบในพื้นดินได้น้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมังคุดมีความสามารถพิเศษที่จะสร้างรากแขนงให้เจริญออกจากโคน ต้น ชิดกับพื้นดินได้ ในต้นที่ปลูกจนโตและเริ่มเป็นพุ่มแล้ว รากแขนงที่เกิดใหม่นี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นรากที่ค่อนข้างอวบ สีขาวอมเหลือง จะเจริญแผ่ออกจากโคน-ต้น และค่อยๆ แทงลึกลงไปในดิน เพื่อช่วยยึดลำต้นให้แข็งแรงไม่โค่นล้ม ทั้งยังช่วยหาอาหารเพิ่มเติม  เพื่อให้เกิดความสมดุลกับส่วนทรงพุ่มที่ เจริญขึ้น
    4.4 ต้น มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ต้นโตเต็มที่จะสูงประมาณ 10 - 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 25 - 30 เซ็นติเมตร เปลือกสีดำ มียางเหนียวข้นสีเหลืองอมเขียว ทรงพุ่มแบบ
Pyramidal crown หรือ conical shape ต้นเรียบทรงต้นงามเป็นระเบียบ กิ่งใบหนา ทำมุมฉากกับลำต้น
    4.5 ใบ ใบมังคุดเป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) เกิดแบบตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือแบบ ternate ก้านใบสั้น ใบเป็นแบบ Ovate-elliptic-oblong ฐานใบเป็นแบบ acute, obtuse หรือ rounded ปลายใบแบบ obtuse และ acuminate ขอบใบเรียบ ใบหนา ด้านหลังใบสีเขียวเข้ม หรือเขียวแกม-เหลือง และเป็นมัน ส่วนใต้ใบเป็นสีเขียวแกมเหลืองไม่เป็นมัน ผิวใบเรียบ ยาว 12-23 เซ็นติเมตร กว้าง 4.5 - 10 เซ็นติเมตร เส้นใบแบบ pinnate เส้นกลางใบเห็นชัดเจน กลมนูนทางด้านหลังใบ และเป็นสันทางด้านใต้ใบ เส้นใบออกจากเส้นกลางใบแล้วค่อยๆ ลู่เข้าหาขอบใบ มีประมาณ 35 - 50 คู่ ก้านใบสั้น มองเห็นเป็นชั้นๆ ยาวประมาณ 1.5 - 2 เซ็นติเมตร มีตาข้าง (axillary bud) อยู่ที่โคนก้านใบทุกใบ ส่วนตายอด (terminal bud) อยู่ที่โคนก้านใบคู่สุดท้าย
    4.6 ดอก เป็น unisexual-dioecious หรือ polygamous อย่างไรก็ตาม Baker (1911) ได้  รายงานว่า พบดอกตัวเมีย (female flower) เฉพาะในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เท่านั้น ดอกตัวผู้ (male flower) เกิดที่ปลายกิ่งเป็นกลุ่มดอก มีประมาณ 3-9 ดอก ก้านดอกค่อนข้างยาว กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นรูปถ้วย และมีขนาดกว้าง มี  4  อัน กลีบดอกมี 4 กลีบ อวบ,  หนา  แบบ ovate  ด้านในสีแดงแกมเหลือง ด้านนอกสีค่อนข้างเขียว และมีประสีแดง เกสรตัวผู้มีมากมายอยู่บนกลีบดอก ด้านล่างติดกับส่วนโคนของรังไข่ (rudimentary ovary) ก้านเกสรตัวผู้สั้น อับละอองเกสรแบบ Ovoid - oblong และ โค้งกลับ ส่วน rudimentary ovary หนา  ลักษณะ obconial  และยาวกว่าอับละอองเกสรเล็กน้อย ดอก- ตัวเมีย (female flower) หรือ ดอกสมบูรณ์เพศ(hermaphrodite flewer) มักเกิดที่ปลายกิ่ง ลักษณะของกลีบเลี้ยง และกลีบดอกคล้ายคลึงกับดอกตัวผู้ เกิดเป็นดอกเดี่ยว (Solitary) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 6.2 เซ็นติเมตร ก้านดอกสั้น หนา เป็นรูปเหลี่ยม มีความยาว 1.8 - 2 เซ็นติเมตร หนา 0.7 - 0.9 เซ็นติเมตร กลีบเลี้ยง (sepal) มี 4 กลีบ ซ้อนกัน 2 ชั้น (biserite) ชั้นใน 1 คู่  หุ้มปิดไว้  และถูกหุ้มด้วยชั้นนอกอีก  1  คู่   ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร  สีเขียวแกมเหลือง เป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม มน ชั้นในมีขนาดเล็กกว่า และมีีขอบกลีบ สีแดง กลีบดอก (petal) มี 4 กลีบ รูป obovate มีขนาดกว้างมาก กลมมน อวบหนา สีเขียวแกมเหลือง ขอบกลีบสีแดง หรือเกือบจะเป็นสีแดงตลอดทั้งกลีบ ขนาดประมาณ  2.5 – 3  เซนติเมตร  เกสรตัวผู้เป็นหมัน (staminode) อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อาจมีมากหรือน้อยกว่า 1-3 อัน  อาจยึดติดหรือไม่ยึดกับส่วนโคนของรังไข่ ยาว 0.5 - 0.6 เซ็นติเมตร อับละอองเกสรมีขนาดเล็ก และเป็นหมัน รังไข่ ไม่มีก้าน (sessile) แอ่งเกสรตัวเมีย (stigma) แบ่งเป็นแฉกประมาณ 4-8 แฉก เท่ากับจำนวนช่องในรังไข่
   4.7 ผล เป็นแบบ berry เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 3.5 - 7 เซ็นติเมตร หรือมากกว่า เมื่อสุกจะมีสีม่วงเข้มหรือม่วงแกมน้ำตาล เปลือกหนาประมาณ 0.8-1 เซ็ตติเมตร มีรสฝาดและมียาง  สีเหลือง ผลจัดเป็นแบบ aril fruit เนื้อเกิดจาก integument ภายในผลแบ่งเป็น 4-8 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดภายในหุ้มด้วยเนื้อสีขาวใสอ่อนนุ่มคล้ายวุ้น มีเส้น Vain สีชมพูติดอยู่ เนื้อมีสีน้ำตาลประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย Sacharase, dextrose และ levulose มีกรดและสารอื่นๆ ประกอบ ทำให้มีกลิ่น และรสน่ารับประทาน การเรียงตัวของกลีบคล้ายกับการเรียงตัวของกลีบส้ม ในแต่ละผลจะมีเมล็ดที่เจริญสมบูรณ์ 1-3 เมล็ดเท่านั้น ที่เหลือมักลีบไป ค่าเฉลี่ยเมล็ดที่สมบูรณ์ของมังคุดประมาณ 1.6 เมล็ด สำหรับผลมีน้ำหนัก 54.5-79.5 กรัม หรือมากกว่า ผลหนึ่งๆ มีเนื้อประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ มังคุดต้นหนึ่งๆ จะออกผลอย่างน้อย 100 ผล และมากกว่า 500-600 ผล ในประเทศศรีลังกา มังคุดสุกปีละ  2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนมกราคม ครั้งหลังในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ในตรินิแดด ให้ผลในราวเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม
    4.8 เมล็ด รูปร่างคล้ายเปลือกหอย มี 2 ฝา เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลบางใส ผิวเมล็ดขรุขระ มีร่องเริ่มจาก Hilum มาจนสุดเมล็ด แตกได้ง่าย มีอายุการเก็บสั้น และความแข็งแรงของเมล็ดที่ Hume กล่าวว่า การกระจายของมังคุดไปยังถิ่นต่างๆ ถูกจำกัด เนื่องจาก อายุของเมล็ดสั้นมาก เมล็ดที่อยู่ในผลจะมีอายุได้ 3-5 สัปดาห์ แต่ถ้าอยู่นอกผลโดยไม่เก็บไว้ในที่ชื้นจะมีอายุได้เพียง 2-3 วัน เท่านั้น ที่จริงแล้วเมล็ดมังคุดไม่ใช่เมล็ดที่แท้จริง เป็นเพียงส่วนที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเพศเมีย (female tissue) เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีทั้ง embryo และ cotyledous เชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียว แต่อาจมีการผันแปรบ้าง เช่นพันธุ์ที่ให้ผลสุกช้ากว่าทั่วไป ซึ่งเป็นรายงานจากพม่า และอีกพันธุ์หนึ่งมีกรด มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นรายงานของชวา แต่การผันแปรเช่นนี้มีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะเมล็ดที่ใช้ในการขยายพันธุ์นั้นเป็นส่วนที่เจริญ โดยไม่มีการผสมและเป็น polyembryony ต้นกล้าที่ได้ ซึ่งไม่ได้มาจาก Zygote แต่เป็น nucellar seedling ซึ่งตรงตามพันธุ์ของต้นแม่ ในประเทศไทย นิวัฒน์ พ้นชั่ว เกษตรกรสวนมังคุดกล่าวว่า จากการที่ได้ศึกษาอย่างใกล้ชิดแล้ว สามารถแบ่งมังคุดเป็น 2 พวก คือ มังคุดเมืองนนท์ และมังคุดปักษ์ใต้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน คือ มังคุดเมืองนนท์ ใบมีลักษณะเรียว ผลเล็ก ขั้วผลเล็ก และยาว เปลือกบาง กลีบที่ปลายขั้วมีสีแดง ผลสุกมีสีม่วงดำ และมังคุดปักษ์ใต้ ใบลักษณะอ้วนป้อม ผลใหญ่ ขั้วผล-สั้น เปลือกหนา กลีบที่ปลายขั้วสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดงอมชมพู และผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้ช้ากว่า มังคุดเมืองนนท์
ประโยชน์ของมังคุด
1.รับประทานสดเป็นผลไม้ หรือทำเป็นน้ำผลไม้ อย่าง น้ำมังคุด และน้ำเปลือกมังคุด
2.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
3.มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่างๆได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ
4.ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
5.ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
6.มีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
7.ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
8.ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
9.มังคุดรักษาสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยัยยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
10.มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
11.ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
12.การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ
13.สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด ทีเอช 1 และ ทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
14.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
15.ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
16.ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหัวใจ
17.ช่วยลดความดันโลหิต
18.ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
19.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด
20.มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย
21.มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาล
22.ช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้
23.มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
24.มีส่วนช่วยบำรุงและรักษาสายตา
25.ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง
26.ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
27.ช่วยรักษาและสมานแผลในช่องปากหรือปากแตกให้หายเร็วยิ่งขึ้น
28.ไฟเบอร์จากมุงคุดช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
29.ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะและการดูดซึมอาหารบกพร่อง
30.สรรพคุณมังคุด ในทางสมุนไพรจะช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ นำมาฝนกับน้ำปูนใส
31.ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เปลือกสดหรือแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเหมือนกัน
32.ช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในสภาวะปกติ
33.ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
34.มีส่วนช่วยป้องกันอาการตับเสื่อม ไตวาย
35.ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
36.เปลือกของมังคุดมีสารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว
37.ช่วยต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และไวรัสต่างๆ อย่างเชื้อวัณโรค เชื้อ HIV เป็นต้น
38.ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (เปลือก)
39.ช่วยยับยั้งการเกิดและใช้รักษาโรคผิวหนังต่างๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่างๆ ด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น
40.มังคุดสรรพคุณ ทางยาสมุนไพรใช้เพื่อรักอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
41.เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
42.นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
43.นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ท๊อฟฟี่มังคุด
44.มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
45.นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น