วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559


ชื่อสมุนไพร :  ฮว่านง็อกชื่อพ้อง  :  Eranthemum palatiferum Nees ชื่ออื่น : พญาวานร
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  
Pseuderanthemum palatiferum (Nees) Radlk.ชื่อวงศ์ :  Acanthaceae
ส่วนที่ใช้ :  
ใบ ลำต้น ราก และทั้งต้นลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ฮว่านง็อกเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 3 เมตร เป็นพันธุ์ไม้ใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อน จะแตกกิ่งสาขาตามโคนก้านใบเป็นทรงพุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามาก
     * ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม
     * เปลือกต้นผิวเรียบสีเขียว
     * ใบ ใบอ่อนมีสีเขียว ปลายใบแหลม ออกตามโคนง่ามใบด้านบนของใบมีสีเขียวเป็นมันเงา ส่วนล่างของใบจะหยาบ มีใบมาก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรี ถึงรูปใบหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายในแหลมเรียว ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 8-11 คู่ ผิวใบมีขนยาวห่าง (Pilose)
     * ดอกช่อแยกแขนงแบบช่อเชิงลด (Spicitiform paniculate) ใบประดับรูปแถบ หรือไม่มีใบประดับ มีก้านดอกย่อย ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่มที่ใบประดับ ก้านดอกย่อย และกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปแถบ วงกลีบดอกสีชมพู น้ำเงิน ม่วง หรือเกือบดำ หลอดดอกรูปทรงกระบอก ดอกปากแตร รูปห้าแฉก เกสรเพศผู้สมบูรณ์ และเป็นหมัน รังไข่เรียบ


        สรรพคุณฮว่านง็อก
      ฮว่านง็อก หรือที่คนไทยเรียกว่า “พญาวานร” มีการกล่าวอ้าง และนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ มากมาย จริงๆ ฮว่านง็อกมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเวียดนาม เป็นพืชที่ถูกค้นพบในป่าแถบเวียดนามเหนือ เมื่อประมาณปี คศ.1990 ต่อมาได้มีการปลูกขยาย ใช้เป็นพืชสมุนไพร และไม้ประดับกระจายไปทั่วประเทศ ฮว่านง๊อกถูกนำเข้ามาในไทย โดยกลุ่มทหารผ่านศึกสมัยสงครามเวียดนาม เมื่อเริ่มแรกมีราคาสูงมาก ขนาดนับใบขายเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันมีราคาถูกลงเนื่องจากสามารถเพาะพันธุ์ได้ในบ้านเรา
     ประโยชน์สำคัญของฮว่านง็อกจะอยู่ที่ใบ (ราก และลำต้น มีสรรพคุณน้อยกว่า หรือไม่มีสรรพคุณเลยหากใช้เดี่ยวๆ) ใบฮว่านง็อกประกอบด้วยสารอาหารเช่น โปรตีน กรดอะมิโน และเกลือแร่ เช่น แมกนีเซียม แคลเซี่ยม เหล็กและทองแดง ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายในแง่ของการรักษาโรค โดยการเคี้ยวใบสดๆ (ปริมาณขึ้นอยู่กับอาการของโรคที่ต้องการรักษา) ก่อนทานอาหารวันละ 4 -7 ใบ เนื่องจากใบของฮว่านง็อกนั้นไม่มีรสชาติจึงทำให้ทานสดได้ง่าย ทั้งสรรพคุณในแง่ของการรักษาโรคก็มีมากมาย จากการที่ได้มีผู้ทดลองทานใบฮว่านง็อกแล้วได้ผลลัพธ์ในการรักษาโรคต่างๆ (โรคที่ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน วินิจฉัยแล้วว่าไม่น่าจะรักษาหายได้) แล้วทำให้ทุเลาหรือหายขาด จนถึงขั้นที่มีผู้ใช้ใบฮว่านง็อกรักษาแล้วหาย ออกมาให้สัมภาษณ์ และเขียนหนังสืออ้างอิงถึงพืชสมุนไพรชนิดนี้กันอย่างแพร่ หลาย และมีข้อบ่งใช้ หรือจำนวนใบที่ใช้ในทานรักษาโรคไว้ดังนี้
       (แปลจาก เอกสาร ฮานอย 2-9-1995 ถ่ายทอดจากต้นฉบับจริง)
       1. ฮว่านง็อกช่วยรักษาคนสูงอายุ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย จากการทำงานหนัก และช่วยบรรเทาอาการประสาทหลอน
       2. ฮว่านง็อกช่วยรักษาเป็นไข้หวัด ลดความดันโลหิตสูง แก้อาการท้องไส้ไม่ปกติ
       3. ฮว่านง็อกช่วยรักษาบาดแผล เคล็ด ขัดยอก กระดูกหัก
       4. ฮว่านง็อกมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการทางเดินอาหารไม่ปกติ
       5. ฮว่านง็อกช่วยรักษาอาการโรคกระเพาะอาหาร โรคเลือดออกในลำไส้ โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
       6. ฮว่านง็อกช่วยรักษาอาการคอพอก ตับอักเสบ
       7. ฮว่านง็อกช่วยรักษาอาการไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นข้น
       8. ฮว่านง็อกช่วยรักษาอาการโรคมะเร็งปอด และอาการปวดต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รับประทานต่อไป 100-200 ใบ อาการจะหายขาด
       9. ฮว่านง็อกช่วยรักษาโรคตาทุกชนิด เช่น ตาแดง ตาต้อ ตาห้อเลือด
     10. ฮว่านง็อกใช้รักษาอาการมดลูกหย่อนของหญิงคลอดบุตรใหม่ได้ผลดี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
     11. ฮว่านง็อกช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ โรคประสาทอ่อนๆ (เพื่อเป็นการสนับสนุนเหตุผลโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้เขียนก็เป็น จึงกินเข้าไปครั้งละ 5 ใบ เช้า-เย็น 1 วัน อาการ หน้ามืดหนักหัวหายไป รู้สึกสบาย เบาสมอง)
     12. ฮว่านง็อกสามารถใช้กับสัตว์ได้ จากเอกสารระบุว่าใช้กับไก่ชนหลังจากชนไก่แล้ว ต้องการให้ไก่ฟื้นจากอาการบาดเจ็บ ให้ไก่กินใบของต้นสมุนไพรฮว่านง็อก จะฟื้นตัวได้เร็ว 

ต้นฮว่านง็อก หรือต้นพญาวานร
ต้นฮว่านง็อก หรือต้นพญาวานร
ใบฮว่านง็อก หรือใบพญาวานร
ใบฮว่านง็อก หรือใบพญาวานร

       สรรพคุณฮว่านง็อก หรือพญาวานร จากผลการศึกษาวิจัยในประเทศไทย โดยทดสอบฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ 4 ชนิด คือ
       - Salmonella sp. (ซัลโมเนลลา) คือเชื้อที่ทำให้เกิดโรคโลหิตเป็นพิษ แผลอักเสบติดเชื้อ ฝีหนอง และอุจจาระร่วง
       - E.coli (อี.คอไล) คือเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่บาดแผลทั่้วไป และอักเสบที่เนื้อเยื่ออวัยวะภายใน เช่นถุงน้ำดำ ตับ ปอด มดลูก เยื่อหุ้มสมอง และการติดเชื้อในกระแสโลหิต รวมทั้งก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงด้วย
       - Shigella sp. (ชิเจลลา) คือเชื้อที่ทำให้เกิดโรคบิด และท้องร่วง
       - Staphylococcus aureus (สแตฟฟิลโลฯ) คือเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง และพบมูกเลือดในอุจจาระด้วย
       1. ใบฮว่านง็อก ช่วยเพิ่มกากอาหารทำให้ท้องไม่ผูก ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
       2. ใบฮว่านง็อกช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนักได้
       3. ใบฮว่านง็อกช่วยบรรเทาอาการของโรคผิวหนังได้ ลดการอักเสบ และอาการคันของโรคผิวหนังได้ดี
       4. ใบฮว่านง็อก หรือพญาวานร ช่วยลดการอักเสบติดเชื้อที่บาดแผลทั่วไปลงได้ และลดการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้
       5. ฮว่านง็อก หรือพญาวานรช่วยบรรเทาอาการของโรคบิดได้
       6. ฮว่านง็อก หรือพญาวานร ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกชนิด
       7. ใบฮว่านง็อก หรือพญาวานร มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
       8. จากการวิจัย สรุปว่าใบฮว่านง็อก หรือพญาวานรมีฤทธิ์ในการต้านเชื้ออี.คอไล (E.coli) และเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella sp.) ได้ดีกว่า ราก และลำต้นของพญาวานร
       9. ใบฮว่านง็อก หรือพญาวานร ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้
     10. ใบฮว่านง็อก หรือพญาวานร ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ และโรคคอพอกได้
     11. ใบฮว่านง็อก หรือพญาวานร ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
     12. มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเลือดออกในลำไส้
     13. ใบฮว่านง็อก หรือพญาวานร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
     14. ใบฮว่านง็อก หรือพญาวานร ช่วยบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยโรคไต
     15. การทำใบพญาวานรมาทำเป็นชา ปรากฏว่าไม่มีผลยับยั้ง หรือต้านเชื้ออี.คอไล (E.coli), ซัลโมเนลลา (Salmonella sp.), ชิเจลลา (Shigella sp.), สแตฟฟิลโลฯ (Staphylococcus aureus) (อาจจะเนื่องจากความร้อนของน้ำที่ใช้ชงชา ไม่เพียงพอที่ทำให้สารที่เป็นตัวยาซึมออกมาจากใบได้)
     16. การวิจัยในหลอดทดลองพบว่า ใบของพญาวานร สามารถทำให้เซลล์มะเร็งตับในหลอดแก้วตายได้ 50% ซึ่งยังต้องมีการศึกษา และวิจัยต่อยอดต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น