ชื่อเครื่องยา
| เถาวัลย์เปรียง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
| เถาวัลย์เปรียงขาว |
ได้จาก
| เถา |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
| เถาวัลย์เปรียง |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)
| เครือเขาหนัง เถาตาปลา เครือตาปลา(นครราชสีมา) ย่านเหมาะ(นครศรีธรรมราช) พานไสน(ชุมพร) เครือตับปลา |
ชื่อวิทยาศาสตร์
| Derris scandens (Roxb.) Benth |
ชื่อพ้อง
| |
ชื่อวงศ์
| Papilionaceae |
ลักษณะภายนอก
เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแกมสีเทา เปลือกเถาอาจมีร่องหรือคลื่นตามยาว มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เถาเหนียว เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้สีออกน้ำตาลอ่อนๆ เห็นรอยวงปีไม่ชัดเจน เนื้อไม้มีรูพรุนตรงกลาง รสเฝื่อน เอียน
เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแกมสีเทา เปลือกเถาอาจมีร่องหรือคลื่นตามยาว มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เถาเหนียว เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้สีออกน้ำตาลอ่อนๆ เห็นรอยวงปีไม่ชัดเจน เนื้อไม้มีรูพรุนตรงกลาง รสเฝื่อน เอียน
กษณะทางกายภาพและเคมี
ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 8%, ปริมาณเถ้าที่ละลายในกรด ไม่เกิน 1%, ปริมาณความชื้น ไม่เกิน 7%, ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่ต่ำกว่า 14%, ปริมาณสารสกัดด้วย 50% เอทานอล ไม่ต่ำกว่า 14%, ปริมาณสารสกัดด้วย 95% เอทานอล ไม่ต่ำกว่า 6%, ดัชนีการเกิดฟองไม่น้อยกว่า 200
ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 8%, ปริมาณเถ้าที่ละลายในกรด ไม่เกิน 1%, ปริมาณความชื้น ไม่เกิน 7%, ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่ต่ำกว่า 14%, ปริมาณสารสกัดด้วย 50% เอทานอล ไม่ต่ำกว่า 14%, ปริมาณสารสกัดด้วย 95% เอทานอล ไม่ต่ำกว่า 6%, ดัชนีการเกิดฟองไม่น้อยกว่า 200
สรรพคุณ:
ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้เถา ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด ใช้เถาคั่วไฟให้หอมชงน้ำกินแก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้เมื่อยขบในร่างกาย แก้กระษัยเหน็บชา ต้มรับประทานถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ถ่ายเสมหะ ไม่ถ่ายอุจจาระ เหมาะที่จะใช้ในโรคบิด ไอ หวัด ใช้ในเด็กได้ดี แก้ปวด แก้ไข้ ทำให้เส้นเอ็นอ่อนลง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ บางตำรากล่าวว่าทำให้มีกำลังดีแข็งแรงสู้ไม่ถอย
เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
บัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียาจากสมุนไพร 2556 ยาพัฒนาจากสมุนไพร กลุ่มยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ระบุรูปแบบและขนาดวิธีใช้ยาดังนี้
บัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียาจากสมุนไพร 2556 ยาพัฒนาจากสมุนไพร กลุ่มยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ระบุรูปแบบและขนาดวิธีใช้ยาดังนี้
1. บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ผงจากเถาของเถาวัลย์เปรียง รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
2. บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง และอาการปวดจากข้อเข้าเสื่อม
สารสกัดจากเถาด้วย 50%เอทานอล รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารทันที
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
คำเตือน
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยแผลเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จึงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
อาการไม่พึงประสงค์
ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อุจจาระเหลว
องค์ประกอบทางเคมี:
สารกลุ่ม isoflavone glycoside ได้แก่ eturunagarone, 4,4’-di-O-methylscandenin, lupinisol A, 5,7,4’-trihydroxy-6,8-diprenylisoflavone, 5,7,4’-trihydroxy-6,3’-diprenylisoflavone, erysenegalensein E, derrisisoflavone A-F, scandinone, lupiniisoflavone G, lupalbigenin, derrisscandenoside A-E, 7,8-dihydroxy-4’-methoxy isoflavone, 8-hydroxy-4’,7-dimethoxy isoflavone-8-O-b-glucopyranoside, 7-hydroxy-4’,8-dimethoxy isoflavone-7-O-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-beta-glucopyranoside, diadzein-7-O-[α-rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, derrisscanosides A-B, genistein-7-O-[α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside
สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ 3-aryl-4-hydroxycoumarins สารกลุ่มสเตียรอยด์ได้แก่ lupeol, taraxerol, b-sitosterol สารอื่นๆ เช่น 4-hydroxy-3-methoxy benzoic acid, 4-hydroxy-3,5-dimethoxy benzoic acid
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
สารสกัดน้ำจากเถามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (ยับยั้งการสร้าง leukotriene B, ลดการหลั่ง myeloperoxide, ลดการสร้าง eicosanoid), ลดการอักเสบที่อุ้งเท้าหนู, สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ,สารสกัดบิวทานอล และสารประกอบประเภท rhamnosyl-(1,6)-glucosylisoflavone มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต, สารสกัดด้วย 50% เอทานอล มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน, ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์, ฤทธิ์ต้านเชื้อรา
การศึกษาทางคลินิก:
บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง การเปรียบเทียบสรรพคุณของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงกับยาไดโคลฟีแนค ในการเป็นยาบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่าเมื่อให้ผู้ป่วย รับประทานสารสกัดเถาวัลย์เปรียงบรรจุแคปซูลขนาด 200 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มที่รับประทานยาไดโคลฟีแนคขนาด 25 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน ผลพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงสามารถลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ไม่แตกต่างจากการใช้ยาไดโคลฟีแนค
กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย การศึกษาประสิทธิผลของเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพดี เมื่อได้รับประทานสารสกัดเถาวัลย์เปรียงทีสกัดด้วย 50% เอทานอล ขนาดวันละ 400 มก. นาน 2 เดือน ไม่พบความผิดปกติของระบบต่างๆของร่างกาย และพบว่าสารสกัดเพิ่มการหลั่งของ IL-2 และ gamma–IFN แสดงว่าสารสกัดมีฤทธิ์เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้
การศึกษาทางพิษวิทยา:
เถามีสารที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง จึงควรระวังถ้าจะรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดลำต้นด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 6,250 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ
การศึกษาพิษเรื้อรัง (6 เดือน) ของสารสกัดด้วย 50%เอทานอล ในหนู โดยให้สารสกัด เทียบเท่ากับผงเถาวัลย์เปรียงแห้ง คิดเป็น 100 เท่าของขนาดที่ใช้กับคนต่อวัน พบว่าไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา ชีวเคมีของซีรั่ม จุลพยาธิของอวัยวะภายใน และไม่พบความผิดปกติใดๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น