วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

ชื่อสมุนไพร
มะรุม
ชื่ออื่นๆ
ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Moringa oleifera Lam.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Moringaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เนื้อไม้อ่อน เปลือกแตกร่อน สีน้ำตาลอ่อนปนเทา กิ่งอ่อนมีขน กิ่งก้านหักง่าย ผิวค่อนข้างเรียบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ออกเรียงสลับ ยาวราว 45 เซนติเมตร โคนก้านใบประกอบป่องออก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 0.7-2 เซนติเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบนิ่มอ่อนบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ใบที่อยู่ปลายสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่น ดอกออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวแกมเหลืองจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดดอกโตเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ไม่เท่ากัน คล้ายกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน เรียงสลับกับเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 5-7 อัน รังไข่มี 1 ห้อง ผลเป็นฝักทรงกระบอกกลม ยาว 40-50 เซนติเมตร ฝักมีรอยคอด ตามแนวเมล็ด และมีสันตามยาว 9 สัน เปลือกฝักหนา ปลายฝักแหลม ฝักแห้งแตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดกลม มีปีก 3 ปีก มีเมล็ดจำนวนมาก


สรรพคุณ  
             ตำรายาไทย ใบสด ใบมีรสเฝื่อน มีวิตามินซีและเอมาก ใช้เป็นยากินแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเยื่อเมือกอักเสบ หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลเปลือกต้น มีรสร้อนเฝื่อน ร้อน ใช้ขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมเรอ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง คุมธาตุอ่อนๆ แก้ลม แก้ฝี แก้พยาธิ เป็นยาอายุวัฒนะ ต้มเป็นกระสายยาแก้หอบหืด เปลือกสด ตำอม ถอนพิษเมาสุรา กระพี้ รสร้อนเฝื่อน แก้ไข้สันนิบาตเพื่อลม ฝัก มีรสหวานเย็น ดับพิษถอนไข้ แก้ปัสสาวะไม่ปกติ ราก มีรสเผ็ดหวานขม แก้บวม ช่วยกระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงไฟธาตุ นำรากทุบพอแตกอมไว้ข้างแก้ม ดื่มสุราจะไม่เมา  ราก ทำให้ความดันเลือดสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว นำมาปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้บวม บำรุงไฟธาตุ บำบัดโรคท้องมาน ดอก มีรสจืด เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ และขับน้ำตา เมล็ด รสจืดมัน แก้ไข้ แก้หอบ ตำพอกแก้ปวดตามข้อ แก้บวม บำรุงไฟธาตุ น้ำมันจากเมล็ด (ben oil) ไม่มีสี กลิ่น และรส ใช้ทำยาขี้ผึ้งทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ แก้ปวดลดไข้ บำรุงหัวใจ ใช้ทำเครื่องสำอาง น้ำหอม ปรุงอาหาร ใช้เป็นน้ำมันสลัด

องค์ประกอบทางเคมี
    เปลือก มีสารอัลคาลอยด์ ได้แก่  moringine, moringinine    รากพบสารชื่อ spiruchin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น