วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Auricularia fuscosuccinea ( Mont.) Farlow
ชื่อสามัญ : เห็ดหูหนูดาํ , Ear Mushroom, Mu-er
ลักษณะดอก : ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นกลุ่ม มีสีดำ ขนาดดอกค่อนข้างเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-6 เซนติเมตร เนื้อดอกไม่หนา มีขนสั้น



  • เห็ดหูหนูดำ สรรพคุณ
ได้ชื่อว่า "อาหารคาวของอาหารเจ"  ในทางแพทย์จีน ถือว่าเป็นยาบำรุงเลือดและพลัง มีส่วนประกอบคล้ายกับเห็ดหูหนูขาว คุณสมบัติทางยา ไม่ร้อน ไม่เย็น รสหวาน วิ่งเส้นลม-ปราณไต (สีดำเป็นสีของไต) เป็นเห็ดที่ได้รับพลังยินสะสม ทำให้ลดความร้อน หรือเกิดความเย็นแก่กระเพาะอาหารได้
        เห็ดหูหนูดำ
๑. วิ่งเส้นลมปราณไต
๒. บำรุงพลังเลือดยินของไต (บำรุงสมอง)
๓. จุดเด่น เลือดออกเนื่องจากเลือดร้อน โดยเฉพาะอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร โรคบิด (เนื่องจากเลือดร้อน)


การประยุกต์ใช้ทางคลินิก
มักนำมาเป็นอาหารสำหรับคนที่มีความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดแดงแข็งตัว นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไต วัณโรค ไอแห้งๆ อุจจาระเป็นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อนภายหลังจากการฉายรังสี การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่า เห็ดหูหนูดำมีน้ำมันยางธรรมชาติและสารใยไฟเบอร์ ช่วยในการระบายขับของเสียในลำไส้ มีฤทธิ์การต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และคุณสมบัติการลดไขมันในเลือด ซึ่งเป็นอาหารที่ เหมาะกับคนสูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคหัวใจ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เย็นกว่าเห็ดหูหนูขาว มีฤทธิ์ในการลดความร้อนของเลือด หยุดเลือด เช่น ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร อุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด (ซึ่งเกิดจากความร้อนของระบบเลือด) คนที่ภาวะร่างกาย เย็นเกินไป และมีอาการดังกล่าว ต้องพิจารณาเสริมบำรุงด้านอื่นประกอบ จึงไม่แนะนำให้กินเห็ดหูหนูในช่วงกลางคืน ขณะที่หยางร่างกายอ่อนลง และมีภาวะยินของธรรมชาติมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น