ชื่อสมุนไพร
| หญ้าน้ำค้าง |
ชื่ออื่นๆ
| หยาดน้ำค้าง หนามเดือนห้า มะไฟเดือนห้า หญ้ายองไฟ หมอกบ่วาย |
ชื่อวิทยาศาสตร์
| Drosera indica L. |
ชื่อพ้อง
| D. angustifolia F.Muell., D. finlaysoniana Wall. ex Stein, D. hexagynia Blanco, D. makinoi Masam., D. metziana Gand., D. minor Schumach. & Thonn., D. serpensPlanch. |
ชื่อวงศ์
| Droseraceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก ขนาดเล็ก อายุปีเดียว เป็นพืชกินแมลง ลำต้นอ่อนทอดไปตามพื้นดิน ส่วนยอดชูตั้งขึ้น สูง 5-25 เซนติเมตร ต้นตรง ผิวลำต้นปกคลุมด้วยขนแบบมีต่อมขนาดเล็ก มีขนสีแดง มีเมือกเหนียวใส ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวอ่อน เป็นเส้นยาวเรียว ค่อนข้างอวบ กว้าง 1-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร มีขนยาวปกคลุมชัดเจนตลอดทั้งต้น ปลายใบแหลมรูปเส้นด้าย ใบแก่ปลายม้วนงอ ตอนปลายเป็นตุ่มใส ภายในมีน้ำเมือกเหนียวไว้ดักจับแมลง หูใบรูปแถบ ดอกสีม่วงหรือชมพู ออกเป็นช่อแบบกระจะ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกยาว 5-15 เซนติเมตร ดอกบาน กว้าง 0.5 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก มีจำนวนมากได้ถึง 10 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน รูปไข่กลับ กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ปลายตัดแกมกลม ฐานกลีบสอบเรียว ขอบกลีบเรียบ ผิวเกลี้ยง กลีบบางคล้ายเยื่อ เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้รูปแถบแบน ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร อับเรณูรูปขอบขนานกว้าง กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร แตกตามแนวยาว เกสรเพศเมีย 1 อัน มีรังไข่เหนือวงกลีบ รังไข่ทรงรีกว้าง กว้าง 0.7 มม. ยาวประมาณ 1 มม. ผิวเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 มม. แยกลึกเป็น 2 แฉก ใกล้ฐาน ยอดเกสรเพศเมียเป็นจุด กลีบรองดอก 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขน ยาวประมาณ 0.8 มิลลิเมตร ผิวด้านในเกลี้ยง ผิวด้านนอกมีขนต่อมสั้น ผลกลม รูปขอบขนานขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 2 มม. แก่แล้วแตกเป็น 3 พู เมล็ดสีดำ รูปรี กว้างประมาณ 0.2 มม. ยาวประมาณ 0.3 มม. เมล็ดจำนวนมาก พบตามทุ่งหญ้า พื้นที่เปิดโล่ง หรือลานหินที่ค่อนข้างชื้น ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,200 เมตร ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
พืชล้มลุก ขนาดเล็ก อายุปีเดียว เป็นพืชกินแมลง ลำต้นอ่อนทอดไปตามพื้นดิน ส่วนยอดชูตั้งขึ้น สูง 5-25 เซนติเมตร ต้นตรง ผิวลำต้นปกคลุมด้วยขนแบบมีต่อมขนาดเล็ก มีขนสีแดง มีเมือกเหนียวใส ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวอ่อน เป็นเส้นยาวเรียว ค่อนข้างอวบ กว้าง 1-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร มีขนยาวปกคลุมชัดเจนตลอดทั้งต้น ปลายใบแหลมรูปเส้นด้าย ใบแก่ปลายม้วนงอ ตอนปลายเป็นตุ่มใส ภายในมีน้ำเมือกเหนียวไว้ดักจับแมลง หูใบรูปแถบ ดอกสีม่วงหรือชมพู ออกเป็นช่อแบบกระจะ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกยาว 5-15 เซนติเมตร ดอกบาน กว้าง 0.5 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก มีจำนวนมากได้ถึง 10 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน รูปไข่กลับ กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ปลายตัดแกมกลม ฐานกลีบสอบเรียว ขอบกลีบเรียบ ผิวเกลี้ยง กลีบบางคล้ายเยื่อ เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้รูปแถบแบน ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร อับเรณูรูปขอบขนานกว้าง กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร แตกตามแนวยาว เกสรเพศเมีย 1 อัน มีรังไข่เหนือวงกลีบ รังไข่ทรงรีกว้าง กว้าง 0.7 มม. ยาวประมาณ 1 มม. ผิวเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 มม. แยกลึกเป็น 2 แฉก ใกล้ฐาน ยอดเกสรเพศเมียเป็นจุด กลีบรองดอก 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขน ยาวประมาณ 0.8 มิลลิเมตร ผิวด้านในเกลี้ยง ผิวด้านนอกมีขนต่อมสั้น ผลกลม รูปขอบขนานขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 2 มม. แก่แล้วแตกเป็น 3 พู เมล็ดสีดำ รูปรี กว้างประมาณ 0.2 มม. ยาวประมาณ 0.3 มม. เมล็ดจำนวนมาก พบตามทุ่งหญ้า พื้นที่เปิดโล่ง หรือลานหินที่ค่อนข้างชื้น ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,200 เมตร ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
สรรพคุณ
ตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน และตับอักเสบ ใช้ ทั้งต้นสด ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน
ตำรายาไทยใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงธาตุ ใบ ต้มน้ำดื่ม บำรุงหัวใจ ขับระดู ขับพยาธิ แก้ตับอักเสบ ใช้ภายนอกแก้กลากเกลื้อน
ตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน และตับอักเสบ ใช้ ทั้งต้นสด ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน
ตำรายาไทยใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงธาตุ ใบ ต้มน้ำดื่ม บำรุงหัวใจ ขับระดู ขับพยาธิ แก้ตับอักเสบ ใช้ภายนอกแก้กลากเกลื้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น