ชื่อเครื่องยา
| ส้มโอ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
| |
ได้จาก
| เปลือกผล |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
| ส้มโอ |
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)
| โกรัยตะลอง มะขุน มะโอ ส้มมะโอ ลีมาบาลี สังอู |
ชื่อวิทยาศาสตร์
| Citrus grandis (L.) Osbeck |
ชื่อพ้อง
| C.maxima (Burm.f.)Merr., Citrus aurantium L. var.grandis L., C. pamplemos Risso., Aurantium maxima Burm. ex Rumph. |
ชื่อวงศ์
| Rutaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 11-17 ซม. บริเวณขั้วผลนูนขึ้นเป็นกระจุก ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่มีสีเขียวอมเหลือง เปลือกผลหนา 1-2 ซม. ผิวผลเรียบ มีต่อมน้ำมันมาก ข้างในมีเยื่อสีขาวหรือสีชมพู ลักษณะหยุ่นนุ่มรสหวานหรือขมเล็กน้อยกั้นเนื้อผลที่เป็นถุงน้ำ เปลือกผล มีรสขมเฝื่อน ปร่า หอมร้อน
ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 11-17 ซม. บริเวณขั้วผลนูนขึ้นเป็นกระจุก ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่มีสีเขียวอมเหลือง เปลือกผลหนา 1-2 ซม. ผิวผลเรียบ มีต่อมน้ำมันมาก ข้างในมีเยื่อสีขาวหรือสีชมพู ลักษณะหยุ่นนุ่มรสหวานหรือขมเล็กน้อยกั้นเนื้อผลที่เป็นถุงน้ำ เปลือกผล มีรสขมเฝื่อน ปร่า หอมร้อน
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
เปลือกผล มีรสปร่าหอม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น ช่วยขับลม ขับเสมหะ แก้อึดอัด แก้จุกแน่นหน้าอก แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อยและไส้เลื่อน แก้ลมในกองลมป่วง แก้ลมในกอง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาเจียน ตำพอกฝี ปรุงยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น แก้ลม ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ต้มน้ำอาบแก้คัน รักษาโรคผิวหนังจำพวกลมพิษ
ประเทศจีน: ใช้เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ และแก้ไอ ผสมในยาหอมกินแล้วทำให้ชื่นใจ
ตำรายาไทย: ผิวส้มโอ จัดอยู่ใน “เปลือกส้ม 8 ประการ” ประกอบด้วย ผิวส้มโอ ผิวส้มเขียวหวาน ผิวส้มจีน ผิวส้มซ่า ผิวส้มตรังกานู ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว หรือผิวส้มโอมือ และผิวมะกรูด มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุงยาหอม แก้ทางลม
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ผิวส้มโอ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของผิวส้มโอ อยู่ใน ”เปลือกส้ม 8 ประการ” ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ใช้รักษาโรคลมพิษที่ผิวหนัง ใช้เปลือกผลครั้งละ 0.5-1 ผล หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำอาบ หรือทาบ่อยๆบริเวณที่เป็น
องค์ประกอบทางเคมี:
acridone, acronycine, anthranilate, apigenin, bergamottin, camphor, citral, hesperidine, limonene, limonin, linalool, myricetin, naringenin, nerol, nomilin, pinene, quercetin, rutin, scopoletin, umbelliferone สารขมในเปลือกชื่อ naringin
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส ฆ่าแลง ฆ่าเห็บวัว ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase ลดการอักเสบ ยับยั้งการทำงานของต่อมไทรอยด์ ยับยั้งการกลายพันธุ์ ต้านออกซิเดชัน ขับเสมหะ แก้ไอ เพิ่มปริมาณน้ำนมในวัว เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
เปลือกผล มีรสปร่าหอม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น ช่วยขับลม ขับเสมหะ แก้อึดอัด แก้จุกแน่นหน้าอก แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อยและไส้เลื่อน แก้ลมในกองลมป่วง แก้ลมในกอง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาเจียน ตำพอกฝี ปรุงยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น แก้ลม ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ต้มน้ำอาบแก้คัน รักษาโรคผิวหนังจำพวกลมพิษ
ประเทศจีน: ใช้เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ และแก้ไอ ผสมในยาหอมกินแล้วทำให้ชื่นใจ
ตำรายาไทย: ผิวส้มโอ จัดอยู่ใน “เปลือกส้ม 8 ประการ” ประกอบด้วย ผิวส้มโอ ผิวส้มเขียวหวาน ผิวส้มจีน ผิวส้มซ่า ผิวส้มตรังกานู ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว หรือผิวส้มโอมือ และผิวมะกรูด มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุงยาหอม แก้ทางลม
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ผิวส้มโอ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของผิวส้มโอ อยู่ใน ”เปลือกส้ม 8 ประการ” ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ใช้รักษาโรคลมพิษที่ผิวหนัง ใช้เปลือกผลครั้งละ 0.5-1 ผล หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำอาบ หรือทาบ่อยๆบริเวณที่เป็น
องค์ประกอบทางเคมี:
acridone, acronycine, anthranilate, apigenin, bergamottin, camphor, citral, hesperidine, limonene, limonin, linalool, myricetin, naringenin, nerol, nomilin, pinene, quercetin, rutin, scopoletin, umbelliferone สารขมในเปลือกชื่อ naringin
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส ฆ่าแลง ฆ่าเห็บวัว ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase ลดการอักเสบ ยับยั้งการทำงานของต่อมไทรอยด์ ยับยั้งการกลายพันธุ์ ต้านออกซิเดชัน ขับเสมหะ แก้ไอ เพิ่มปริมาณน้ำนมในวัว เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น