ชื่อสมุนไพร
| หญ้าบัว |
ชื่ออื่นๆ
| หญ้าขนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หญ้าบัว หญ้าขี้กลากน้อย (อุบลราชธานี), หญ้าขี้กลาก (สระบุรี), หญ้ากระเทียม (ปราจีนบุรี), กระจับแดง (นราธิวาส), กุง, กระถินนา, กระถินทุ่ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์
| Xyris indica L. |
ชื่อพ้อง
| X. calocephala Miq., X. capito Hance, X. paludosa R.Br., X. robusta Mart., Ramotha vera Raf. |
ชื่อวงศ์
| Xyridaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แตกจากลำต้นเป็นกระจุกใกล้พื้นดิน เป็นกอเจริญขึ้นมาเหนือดิน ใบรูปใบดาบถึงรูปแถบแคบ แผ่นใบเรียบ กว้างได้ถึง 4 มิลลิเมตร ยาว 5-25 เซนติเมตร โคนใบแผ่เป็นกาบ ปลายใบเฉียงถึงแหลม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ สีเหลืองสด แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกโดด ยาวมากชูขึ้นมาเหนือดิน ดอกย่อยเบียดอัดกันแน่น รูปทรงกลมหรือรี กว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 8 มิลลิเมตร ที่ปลายก้านช่อดอก กลีบดอกมี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ สีเหลือง กลีบดอกชั้นนอกมี 2 กลีบ กลีบบางมีขนาดใหญ่ กลีบดอกชั้นในโคนกลีบติดกัน ขอบจักละเอียด กลีบดอกค่อนข้างกลม ดอกย่อยแต่ละดอก มีใบประดับสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เป็นทรงรูปไข่รองรับ ยาว 1-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 3 กลีบ บางใส สีเหลืองขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ เป็นจะงอย กลีบเล็ก 2 กลีบเป็นแผ่น ก้านช่อดอกแข็ง เป็นร่อง ยาว 25-50 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผลเดี่ยว เมื่อแก่แห้งและจะแตกออก เมล็ดขนาดเล็ก ติดอยู่ตามช่อดอก มีสีดำ เป็นจำนวนมาก พอแก่เต็มที่จะร่วงไป พบมากขึ้นตามที่ดินปนทราย หรือทุ่งนาที่ทิ้งร้าง ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แตกจากลำต้นเป็นกระจุกใกล้พื้นดิน เป็นกอเจริญขึ้นมาเหนือดิน ใบรูปใบดาบถึงรูปแถบแคบ แผ่นใบเรียบ กว้างได้ถึง 4 มิลลิเมตร ยาว 5-25 เซนติเมตร โคนใบแผ่เป็นกาบ ปลายใบเฉียงถึงแหลม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ สีเหลืองสด แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกโดด ยาวมากชูขึ้นมาเหนือดิน ดอกย่อยเบียดอัดกันแน่น รูปทรงกลมหรือรี กว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 8 มิลลิเมตร ที่ปลายก้านช่อดอก กลีบดอกมี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ สีเหลือง กลีบดอกชั้นนอกมี 2 กลีบ กลีบบางมีขนาดใหญ่ กลีบดอกชั้นในโคนกลีบติดกัน ขอบจักละเอียด กลีบดอกค่อนข้างกลม ดอกย่อยแต่ละดอก มีใบประดับสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เป็นทรงรูปไข่รองรับ ยาว 1-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 3 กลีบ บางใส สีเหลืองขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ เป็นจะงอย กลีบเล็ก 2 กลีบเป็นแผ่น ก้านช่อดอกแข็ง เป็นร่อง ยาว 25-50 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผลเดี่ยว เมื่อแก่แห้งและจะแตกออก เมล็ดขนาดเล็ก ติดอยู่ตามช่อดอก มีสีดำ เป็นจำนวนมาก พอแก่เต็มที่จะร่วงไป พบมากขึ้นตามที่ดินปนทราย หรือทุ่งนาที่ทิ้งร้าง ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้น ผสมไหลหญ้าชันกาด และรากครามป่า ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง, ใช้ภายนอกรักษาขี้กลาก
ตำรายาไทย ลำต้น รักษาโรคกลากเกลื้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น