ชื่อสมุนไพรติ๋วขาว
| |
ชื่ออื่นๆ
| ตาว (สตูล) ติ้วส้ม (นครราชสีมา); ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด (เหนือ) ; แต้วหิน (ลำปาง) ติ้วเหลือง (เหนือ กลาง); ติ้วขน (กลาง และนครราชสีมา); เตา (เลย) |
ชื่อวิทยาศาสตร์
| Cratoxylum formosum (Jack) Dyer |
ชื่อพ้อง
| |
ชื่อวงศ์
| Clusiaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 35 เมตร ผลัดใบ โคนต้นมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นมีน้ำยางเหลือง กิ่งก้านเล็กเรียว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร โคนใบสอบเรียบ ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบโค้งเรียบ ผิวใบมีขนละเอียดทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีชมพูอ่อนถึงแดง เรียบ เป็นมันวาว ในฤดูหนาวจะเห็นเรือนพุ่มทั้งหมดเป็นสีชมพูอ่อน ใบแก่สีเขียวสด เรียบ เกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีต่อมกระจายทั่วไปใบแก้สีแดงหรือสีแสด เส้นใบข้าง 7-10 คู่ ซึ่งจะโค้งจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบยาว 0.6-1.6 เซนติเมตร ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ กลีบดอกสีขาวอมชมพูอ่อนถึงแดง กลีบดอกบาง มี 5 กลีบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกตามซอกใบ ร่วงง่าย ดอกบานขยายออกราว 1.2 เซนติเมตร มีก้านเรียว เล็ก และกาบเล็กๆที่ฐานกลีบด้านใน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สั้น สีเหลือง ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็น 3 กลุ่ม เกสรเพศเมีย มีก้านเกสรตัวเมียสีเขียวอ่อนมี 3 อัน มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ สีเขียวอ่อนปนแดง ผลแห้ง แตกได้ รูปไข่แกมกระสวย กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ผลมีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ ผลแบบแคปซูล ปลายแหลม ผิวเรียบและแข็ง ขนาด กว้าง 0.4-0.6 เซนติเมตร ยาว 1.3-1.8 เซนติเมตร แตกออกเป็น 3 แฉก มีเมล็ดสีน้ำตาล ที่ฐานมีกลีบเลี้ยงยังคงอยู่ พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงเดือน มกราคมถึงพฤษภาคม ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 35 เมตร ผลัดใบ โคนต้นมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นมีน้ำยางเหลือง กิ่งก้านเล็กเรียว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร โคนใบสอบเรียบ ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบโค้งเรียบ ผิวใบมีขนละเอียดทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีชมพูอ่อนถึงแดง เรียบ เป็นมันวาว ในฤดูหนาวจะเห็นเรือนพุ่มทั้งหมดเป็นสีชมพูอ่อน ใบแก่สีเขียวสด เรียบ เกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีต่อมกระจายทั่วไปใบแก้สีแดงหรือสีแสด เส้นใบข้าง 7-10 คู่ ซึ่งจะโค้งจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบยาว 0.6-1.6 เซนติเมตร ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ กลีบดอกสีขาวอมชมพูอ่อนถึงแดง กลีบดอกบาง มี 5 กลีบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกตามซอกใบ ร่วงง่าย ดอกบานขยายออกราว 1.2 เซนติเมตร มีก้านเรียว เล็ก และกาบเล็กๆที่ฐานกลีบด้านใน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สั้น สีเหลือง ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็น 3 กลุ่ม เกสรเพศเมีย มีก้านเกสรตัวเมียสีเขียวอ่อนมี 3 อัน มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ สีเขียวอ่อนปนแดง ผลแห้ง แตกได้ รูปไข่แกมกระสวย กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ผลมีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ ผลแบบแคปซูล ปลายแหลม ผิวเรียบและแข็ง ขนาด กว้าง 0.4-0.6 เซนติเมตร ยาว 1.3-1.8 เซนติเมตร แตกออกเป็น 3 แฉก มีเมล็ดสีน้ำตาล ที่ฐานมีกลีบเลี้ยงยังคงอยู่ พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงเดือน มกราคมถึงพฤษภาคม ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ แก่นและลำต้น แช่น้ำดื่ม แก้ปะดงเลือด (เลือดไหลไม่หยุด) ราก ต้มน้ำดื่มแก้ปัสสาวะขัด
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ ยอด ดอก และใบอ่อน เถา รสเบื่อเมาฝาด บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ แก้ประดง ขับลม ยาง ใช้รักษาส้นเท้าแตก
ตำรายาไทย ใช้ ราก ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้า รากและใบ น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ต้น ยางจากเปลือกต้นทาแก้คัน น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ธาตุพิการ เปลือกและใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น