วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


กล้วยนวล หรือ กล้วยหัวโต 
ชื่อวิทยาศาสตร์Ensete glaucum เป็นกลุ่มของกล้วยอบิสซิเนียที่ไม่เป็นรู้จักมากนัก บางครั้งมีชื่อวิทยาศาสตร์ Musa nepalensis หรือ Ensete giganteum หรือ Ensete wilsonii 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ใบกล้วยนวล ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปรีนาวขอบขนาน ปลายใบยาวคล้ายหาง ส่วนโคนใบมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 50-60 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.4-1.8 เมตร แผ่นใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีนวลหนา ก้านใบยาวเป็นสีเขียวนวล และมีร่องเปิดที่เส้นกลางใบ ส่วนก้านใบสั้น


ดอกกล้วยนวล ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่คล้ายระฆังห้อยดิ่งลง โดยปลีมีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวเรียงสลับ และชิดติดกันตั้งแต่โคนจนถึงปลาย[1] ช่อดอกหรือปลีมีลักษณะเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 2.5 เมตร มีใบประดับเรียงซ้อนเหลื่อมกัน มีนวลติดทนอยู่ด้านใน แต่ละใบมีประมาณ 10-20 ดอก โดยดอกเพศผู้จะอยู่ช่วงปลาย ส่วนดอกเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศจะออกบริเวณช่วงโคน กลีบรวมที่เชื่อมติดกันยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่ปลายมี 3 หยัก กลีบรวมที่แยกเป็นรูปหัวใจ สั้นกว่ากลีบรวมที่เชื่อมติดกัน ที่ปลายเป็นติ่ง


ผลกล้วยนวล ผลอยู่รวมกันเป็นหวีภายในปลี ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะของผลเป็นรูปรีสั้น ๆ และมีสันตามยาว ผลมีขนาดกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ภายในผลมีเนื้อเยื่อบาง ๆ และมีเมล็ดสำดำขนาดใหญ่ ผิวเรียบและแข็งมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร




สรรพคุณทางยา

  1. รากเหง้าใช้เป็นยาแก้ถ่ายท้องได้เป็นอย่างดี (รากเหง้า)
  2. น้ำใส ๆ ที่อยู่ภายในโพรงหัว ใช้รักษาผมร่วง (น้ำใสที่อยู่ในโพรงหัว)




กล้วยเล็บมือนาง 

ชื่อสามัญ Banana 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Musa spp.


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดงฃ


ใบ ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นใบสีชมพูอมแดง ใบสีเขียวอ่อน ค่อนข้างแคบ 


ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด


ผล หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลเล็กรูปโค้งงอ ปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอมแรง เนื้อสีเหลือง รสหวาน

สรรพคุณทางยา

         กล้วยเล็บมือนางมีน้ตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโคส มีเส้นใยและกาก

อาหาร ช่วยเพิ่มพลังงานสำหรับการออกกำลังกาย ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เพราะมีธาตุเหล็กสูง โรค

ความดันโลหิตสูง เพราะมีธาตุโปรแตสเซี่ยมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ และช่วยเสริมกำลังสมองโรค

ท้องผูก โรคความ ซึมเศร้า เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า Try potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ

ถูกเปลี่ยนเป็น Serotonin ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และมีความสุข ระบบประสาท เพราะกล้วยมีวิตามิน B 

โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย 

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ควรรับประทานกล้วยทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าทารกที่เกิดมาจะมีอุณหภูมิเย็น




กล้วยเทพรส

ชื่อสามัญ -
ชื่อพ้อง กล้วยสิ้นปลี กล้วยปลีหาย กล้วยตีนเต่า กล้วยพาโล กล้วยทิพรส
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (ABBB group) "Kluai Teparod"
แหล่งที่พบ ประเทศไทย


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 ต้น ลำต้นสูง 3.5 - 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำบ้างเล็กน้อย มีนวลตรงผิวกาบเล็กน้อย ด้านในมีสีเขียว
ใบ ก้านใบมีร่องแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายมน ด้านบนมีสีแดงอมม่วง ด้านล่างมีสีแดงเข้ม
ผล เครือหนึ่งมี 5 - 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 11 ผล ผลใหญ่คล้ายกล้วยหักมุก กว้าง 6 - 7 เซนติเมตร ยาว 18 - 20 เซนติเมตร ก้านผลยาว




สรรพคุณทางยา

ยังไม่มีการระบุแน่ชัด


กล้วยนาก

ชื่อสามัญ Red banana
ชื่อพ้อง กุ้ง, กุ้งแดง, แดง, หลอกเด็ก (ภาคใต้), ครั่ง, นากไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AAA group) “Kluai Nak”


กล้วยนาก เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ (นากเป็นโลหะผสมระหว่างทองคำ เงินและทองแดง คนโบราณใช้ทำเข็มขัดนาก กำไลนาก) พันธุ์กล้วยนากมีกล้วยนากแดง กล้วยน้ำครั่ง กล้วยครั่ง กล้วยกุ้งแดง ผลดิบผิวเขียวอมแดงหม่น ผลสุกผิวสีนากแดง มีกลิ่นหอม รสหวาน กึ่งกล้วยไข่กึ่งกล้วยหอม เนื้อออกสีเหลืองส้ม ชาวมาญและชาวกระเหรี่ยงน้ำมาบดป้อนลูกเด็กเล็กแดง เป็นกล้วยที่กินกันมากในประเทศพม่า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 ต้น ลำต้นสูง 3 – 4.2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 18 – 22 เซนติเมตร กาบด้านนอกมีสีเขียวปนแดงด้านใน สีชมพูมีปื้นแดงเป็นแถบ


ใบ ก้านใบมีมีชมพูปนแดง ร่องใบเปิด ใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบสีชมพู



ดอก ปลีรูปไข่ ปลายแหลม ปลีมีสีแดงอมม่วง กาบปลีเปิดม้วนงอขึ้น
ผล เครือหนึ่งมี 5 – 7 หวี หวีหนึ่งมี 14 – 18 ผล ผลกลม คล้ายกล้วยไข่ ยาว 12 – 14 เซนติเมตร กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ผลดิบมีสีแดงสดใส แก่จัดสีเขียวอมแดง เมื่อสุกสีแดงอมเหลือง เนื้อผลสีเหลืองส้มรสหวาน กลิ่นหอมเย็น



สรรพคุณทางยา

ใบอ่อนของกล้วย อังไฟพอนิ่ม ใช้พอกแก้เคล็ดขัดยอก
ก้านใบตอง ตำให้แหลกช่วยลดอาการบวมของฝี
หัวปลี ใช้บำรุงน้ำนม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ผลกล้วย มีสารเซอโรโทนินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลดิบมีสารกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารให้หลั่งสารออกมาเคลือบกระเพาะ
ในผลกล้วยสุก อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 22 % รวมถึงมีเกลือแร่ เพกติน วิตามินเอ บี และซี มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา




กล้วยตานี

(ชื่อวิทยาศาสตร์Musa balbisiana) เป็นกล้วยชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของกล้วยที่รับประทานได้ในปัจจุบัน ร่วมกับกล้วยป่า (M. acuminata)
กล้วยตานียังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: กล้วยป่า กล้วยพองลา กล้วยตานีใน กล้วยชะนีใน กล้วยเมล็ด กล้วยงู

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

           มีลำต้นสูงประมาณ 3.5 - 4 เมตร ผลเครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่มีเหลี่ยมชัดเจน ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน เมล็ดมีจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา แข็ง





สรรพคุณทางยา

  1. ถ้าหากนำใบที่แห้งแล้วนำไปต้มกับใบมะขาม สามารถนำน้ำมาอาบได้ เพื่อแก้ผดผื่นคันตามตัวได้
  2. ช่วยแก้ท้องเสียได้ โดยการนำผลดิบที่ยังอ่อนอยู่ นำมาฝานแล้วตากแดดไว้หลังจากนั้นนำมาบดแล้วรับประมานจะช่วยแก้ท้องเสียได้
  3. ช่วยแก้ร้อนใน ดับกระหายได้ โดยการนำรากมาต้มน้ำรับประทาน
  4. ลำต้น หรือกาบตรงลำต้น สามารถนำมาทำเป็นเชือกใช้ทอผ้าได้
  5. สามารถนำมาทำอาหารสัตว์หรืออาหารของคนได้
  6. ช่วยกันผมร่วงและเร่งให้ผมเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยนำลำต้นมาคั้นน้ำแล้วนำมาทากับผมตรงที่เราต้องการ
  7. ใบของกล้วยตานีนั้นจะนิยมนำมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆเพราะใบกล้วยตานีนั้นมีใบที่ใหญ่และเหนียวไม่แตกง่าย
  8. ช่วยบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกได้ โดยการนำใบกล้วยที่อ่อน นำมาอังไฟแล้วนำมาทาบริเวณที่เคล็ดขัดยอกจะช่วยบรรเทาได้
  9. หัวปลีนั้นสามารถใช้บำรุงน้ำนมมารดาได้ โดยวิธีการคือนำหัวปลีกไปต้มแล้วคั้นสด รับประทานจะช่วยบำรุงน้ำนมแม่ได้
  10. หัวปลีก็ยังสามารถรักษาโลหิตจางได้เพราะหัวปลีมีธาตุเหล็กอยู่มาก วิธีการทำโดยการนำหัวปลีไปตากแห้งแล้วรับประทาน สามารถใช้รักษาโลหิตจางได้


กล้วยไข่

ชื่อสามัญ Pisang mas 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AA group) กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่ปลูกกันมากแถบจังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ เพชรบุรี จัดเป็นผลไม้เขตร้อน (tropical fruit) แบ่งกลุ่มตามอัตราการหายใจอยู่ในกลุ่ม climacteric fruit เป็นกล้วยที่มีรสชาติดี มีกลิ่นหอม ปัจจุบันกล้วยไข่เป็นสินค้าออกที่ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

        ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง
        ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพูดอก ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็ก น้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู
        ผลกล้วย เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็กๆ ประปรายโดยเฉพาะเมื่อผลงอม  เนื้อสีครีมอมส้ม
รสหวาน


สรรพคุณทางยา
ยาง      ช่วยในการสมานแผล ห้ามเลือด ให้รสฝาด
ผลดิบ  ใช้ชงน้ำร้อนหรือบดเป็นผงรับประทาน ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และท้องเสียเรื้อรัง ให้รสฝาด
ผลสุก  ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ให้รสหวาน
หัวปลี  ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ และโรคโลหิตจาง ให้รสฝาด
ใบ       ใช้ต้มอาบแก้ผดผื่นคัน หรือนำไปปิ้งไฟปิดทับบาดแผลไฟไหม้ ให้รสจืด
ราก     นำไปต้มดื่มแก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยสมานภายใน แก้บิด ผื่นคัน ท้องเสีย ให้รสฝาดเย็น
หยวก  นำไปเผาไฟรับประทานช่วยในการขับถ่ายพยาธิ ให้รสฝาดเย็น
เหง้า   ช่วยรักษาแผลภายในบริเวณทวารหนัก หรือปรุงเป็นยาแก้ริดสีดวงทวารแบบมีเลือดออก ให้รสฝาดเย็น


กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทยาศาสตร์  Musa sapientum  L. 
วงศ์ :   Musaceaeชื่อสามัญ ; Banana



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ไม้ล้มลุก สูง 2-4.5 เมตร มีลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเกิดจากกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันรอบต้นที่ปลายยอด รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ผิวใบเรียบมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า มีนวล ดอก  ช่อเรียกว่า หัวปลีออกที่ปลายยอด ใบประดับหุ้มช่อดอกสีแดงหรือม่วง กลีบดอกสีขาว บาง ผล  เป็นผลสด




สรรพคุณทางยา
              กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย


กล้วยหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Musa (AAA group) "Kluai Hom thong"
ชื่อวงศ์:    MUSACEAE
ชื่อสามัญ:    Gros Michel
ชื่อพื้นเมือง:    กล้วยหอม


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ต้น    ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้นนอกมีประดำ ด้นในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู


    ใบ    ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และ มีปีก เส้นกลางใบสีเขียว
    ดอก    ก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
    ฝัก/ผล    เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุก เห็ดชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน



สรรพคุณทางยา
  1. ผล ขับปัสสาวะ
  2. ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
  3. ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย สมานแผลในกระเพาะอาหาร
  4. ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุรา ของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม 1-2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้
  5. ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
  6. เปลือกกล้วยหอม สามารถลดอาการคันหรือบวม จากบริเวณที่ถูกยุงกัดได้ โดยใช้เปลือกด้านใน หรือการนำเปลือกกล้วยหอมมาด้มน้ำดื่ม พบว่าสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ พบว่า หากเราใช้ด้านในของเปลือกกล้วยหอมสุก ถูเบาๆ บริเวณที่มีรอยหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จะทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้น รอยหยาบกร้านจางหายไป


วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ชื่อสมุนไพร
มะขามป้อม
ชื่ออื่นๆ
กันโตด (จันทบุรี, เขมร), กำทวด (ราชบุรี), มั่งลู่, สันยาส่า (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus emblica L.
ชื่อพ้อง
Cicca emblica (L.) Kurz, Diasperus emblica (L.) Kuntze, Dichelactina nodicaulis Hance, Emblica arborea Raf., E. officinalis Gaertn., Phyllanthus mairei H.Lév., P. mimosifolius Salisb., P. taxifolius D.Don
ชื่อวงศ์
Euphorbiaceae

      ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

             ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 8-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง ลำต้นคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ หลุดลอกเป็นแผ่นกว้างๆ  เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแดง ปลายกิ่งมักลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว ลักษณะคล้ายใบแบบขนนก มักเรียงตัวหนาแน่นตามกิ่งก้าน ส่วนตามลำต้น และกิ่งก้านใหญ่ๆ มักไม่มี ใบอ่อนมีขนละเอียดมักจะมีแต้มสีแดง ใบแก่ไม่มีขน ใบมีขนาดเล็ก รูปแถบแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 มม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายมน โคนรูปหัวใจเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เส้นแขนงใบ ข้างละ 4-6 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดเจนทางด้านบน ก้านใบยาว 0.4-0.8 มม. หูใบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาวไม่เกิน 1 มม. ดอกขนาดเล็กแยกเพศติดตามกิ่งก้าน บริเวณโคนกิ่งจะเป็นกระจุกของดอกเพศผู้ ส่วนบนมีดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ บางครั้งอาจมีดอกเพศผู้ร่วมอยู่ด้วยเล็กน้อย ดอกเล็กๆ สีเขียวอ่อนหรือเหลืองออกครีม อาจพบแต้มสีชมพู ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ แต่ละกระจุกมีดอกเพศผู้หลายดอก ดอกเพศเมีย 1 หรือ 2 ดอก ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 วง รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปช้อน กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.5 มม. ก้านดอกตัวผู้ยาว 2.5 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 3 อัน เชื่อมกันเป็นแกนสั้นๆ ต่อมที่จานฐานดอก 6 อัน รูปกระบอง ก้านดอกย่อยยาว 1.5-3.5 มม. ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปขอบขนาน หรือรูปช้อน กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 1.8-2.5 มม. เชื่อมกันที่ฐาน จานฐานดอก รูปวงแหวน ก้านดอกย่อยยาว 0.5-0.6 มม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบเกลี้ยง มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 มม. ก้านเกสรตัวเมียเชื่อมกัน ปลายแยกออก รังไข่ฝังตัวครึ่งหนึ่งในหมอนรองดอกที่มีระบาย ผลผนังชั้นใน แข็ง รูปกลม เกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ที่ผิวมีรอยแยกตามยาวแบ่งเป็น 6 ซีก ผลไม่มีก้าน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง ผิวใส ชุ่มน้ำ มีรสเปรี้ยวและฝาด ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง 3 หน่วย แต่ละหน่วยหุ้ม 2 เมล็ด  พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าสนผสมก่อ ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร ออกดอกและเป็นผลระหว่าง เดือน มกราคม-สิงหาคม



              สรรพคุณทายา    

              ตำรายาไทย ผล  รสเปรี้ยว ฝาด ขมชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้ามและกระเพาะ รับประทาน แก้กระหายน้ำ แก้คอตีบ  แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้พิษ แก้หวัด เป็นไข้ตัวร้อน แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เจ็บคอ คอแห้ง  และใช้สำหรับผู้ขาดวิตามินซี ผลอ่อน รสเปรี้ยวหวานฝาดขม  บำรุงเนื้อหนัง กัดเสมหะ บำรุงเสียง แก้ท้องผูก แก้พยาธิ ผลแก่ รสเปรี้ยวฝาด ขมเผ็ด แก้ไข้เจือลม แก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ ขับปัสสาวะ ระบายท้อง  บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต แก้ลม แก้โรคลักปิดลักเปิด มีวิตามินซีสูงกว่าส้มประมาณ 20 เท่า ผลแห้งต้มสกัดเอาน้ำมาใช้แก้ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด แก้หวัด ตัวร้อน มีอาการไอ เจ็บคอ และกระหายน้ำ เนื้อผล ใช้ทาบนศีรษะ แก้อาการปวดหัว และแก้วิงเวียนจากอาการไข้ขึ้นสูง แก้สะอึก ขับพยาธิ เนื้อผลแห้ง รสเปรี้ยวฝาดขม เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร แก้บิด ท้องเสีย ใช้ร่วมกับธาตุเหล็กแก้ดีซ่าน ช่วยย่อยอาหาร ยางจากผล รสเปรี้ยวฝาดขม หยอดแก้ตาอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ น้ำคั้นผล ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นยาระบาย แก้เสียดท้อง ขับปัสสาวะ หยอดตา รักษาเยื่อตาอักเสบ เมล็ด แก้โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ราก รสจืดฝาด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อม้าม ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง แก้ปวดกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ  ต้มดื่มแก้ไข้ แก้พิษไข้ แก้พิษโลหิต รักษามะเร็งลาม ทำให้เส้นเอ็นยืด ฟอกโลหิต ทำให้อาเจียน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน แก้พิษตะขาบกัด เปลือกราก ห้ามเลือด สมานแผล ใบ รสฝาด ขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ใช้ทาแก้โรคผิวหนังผื่นคัน มีน้ำเหลือง แก้บิดมูกเลือด แก้ฝี แก้ความดันโลหิตสูง ต้มอาบลดไข้ ดอก รสหอมเย็น ใช้ลดไข้ และช่วยเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะนาว ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาเย็นและระบายท้อง  เปลือกต้น รสฝาดขม สมานแผล แก้บาดแผลเลือดออก แก้บิด แก้บาดแผลฟกช้ำ แก้ท้องร่วง




           องค์ประกอบทางเคมี
           ผล พบสาร astragalin, glucogallin, gallic acid, digallic acid, ellagic acid, chebulagic acid, chebulinic acid, kaempferol, quercetin เนื้อผล มีวิตามินซีสูงถึง 1-2% (มะขามป้อม 1 ผล มีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่ากับผลส้มสด 2 ผล)