วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ชื่อสมุนไพร
หงอนไก่ไทย
ชื่ออื่นๆ
ดอกด้าย หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ฟ้า(กลาง) หงอนไก่ดง(นครสวรรค์) พอคอที
ชื่อวิทยาศาสตร์
Celosia argentea Linn.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Amaranthaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี สูง 30-90 ซม. ลำต้นและกิ่งก้านที่แตกออกจะตั้งตรงขึ้น ลำต้นฉ่ำน้ำ มีร่องตามยาว เปลือกลำต้นมีสีเขียวถึงม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปหอกเรียวยาว โคนใบสอบ ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบยาว 5-9 ซม. กว้าง 1-3 ซม. ใบมีสีเขียว และสีแดงอมม่วง ใบตอนล่างมีขนาดใหญ่กว่าใบช่วงบน ก้านใบยาว 0.3-1.7 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อ ลักษณะเป็นแท่งกลม ตั้งตรงขึ้น ออกบริเวณซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมากอยู่ติดกับแกนช่อดอกหนาแน่น ปลายช่อดอกแหลม ดอกจะออกตามปลายกิ่งและที่ซอกใบ มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดขาวมีลำต้นสีเขียว ชนิดแดงลำต้นและใบมีสีแดงอมม่วง ช่อดอกยาว 3-10 ซม. อัดแน่นอยู่ในช่อเดียว และบิดจีบม้วนไปมาอยู่ในช่อ ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบเลี้ยงบาง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวปลายแต้มสีชมพู อยู่ติดกันเป็นกระจุก ใบประดับ 2 ใบ ไม่มีก้านดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลแห้งแตกได้ รูปไข่ กลมรี มีเมล็ดจำนวนมาก กลมแบนสีดำ เป็นมัน แข็ง  ขั้วด้านหนึ่งบุ๋มลง พบทั่วไปตามริมทาง ชายน้ำ ป่าโปร่ง


สรรพคุณ  
             ตำรายาไทย ดอก รสฝาดเฝื่อน แก้บิด ห้ามเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ตกขาว แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง ดอก ก้าน ใบ ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารมีเลือด แก้บิด มูกเลือด ตกเลือด ตกขาว และแก้ตาแดง ใบ ใช้ห้ามเลือด ทาแก้ผดผื่นคัน ใบ กิ่งก้าน รสฝาดเฝื่อน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้บิด แก้ผดผื่นคัน ห้ามเลือด เมล็ด รสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ขับลมร้อนในตับ แก้ความดันโลหิตสูง แก้ปวดศีรษะ แก้ตาแดง ตาปวด เยื่อตาอักเสบ ทำให้ตาสว่าง แก้ริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด ช่วยห้ามเลือด เลือดกำเดาไหล แก้เม็ดผดผื่นคัน อักเสบ ดอกและเมล็ด ใช้ห้ามเลือด ใช้แก้เลือดกำเดาออก ราก รสขมเฝื่อน  แก้ไข้ที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ หรือไข้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษร่วมด้วย ไข้พิษ แก้โลหิตเป็นพิษ บำรุงธาตุ แก้หืด แก้เสมหะ

องค์ประกอบทางเคมี  เมล็ด พบสาร oxalic acid, nicotinic acid, celosiaol

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น