วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ชื่อสมุนไพร น้ำเต้า
ชื่อเรียกอื่นๆ : มะน้ำเต้า (ภาคเหนือ), คิลูส่า, คูลูส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลุ้นออก, แผละลุนอ้อก (ลั้วะ), Dudhi Lauki (อินเดีย), หมากน้ำ และ น้ำโต่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagenaria siceraria (Molina) Standl.
ชื่อสามัญ Bottle Gourd, Calabash Gourd, Flowered Gourd และ White Flowered Gourd
วงศ์ CUCURBITACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        น้ำเต้าเป็นไม้เถาล้มลุกเลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้ ตามเถามีขนยาวสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉก 5-7 แฉก โคนใบเว้าเข้าถึงเส้นกลางใบ ใบมีขนตลอดทั้งใบ ก้านใบยาว มีต่อมเทียม 2 ต่อม ซึ่งอยู่ตรงรอยต่อระหว่างก้านใบกับแผ่นใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอกมีขนลักษณะบางและย่น มีเกสร 3 อัน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูเป็นสีขาว อยู่ชิดกัน ดอกเพศเมียมีลักษณะทั่วไปคล้ายดอกเพศผู้ต่างกันที่จะมีผลเล็กๆ ติดอยู่ที่โคนดอก  ผลมีรูปทรงกลม ทรงกลมซ้อน ทรงกลมหัวจุก ทรงยาว ทรงแบน เป็นรูปกระบอง หรือเป็นรูปขวด ลักษณะกลมโต คอดกิ่วบริเวณยอด เปลือกผลแข็งและทนทาน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรูปทรงแบนป้านคล้ายเล็บมือ ส่วนปลายมีติ่งยื่น 2 ข้าง เป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดตามยาวของเมล็ด


สรรพคุณทางยา

  1. ราก ช่วยบำรุงน้ำดีแก้ดีแห้ง ขับน้ำดีให้ตกลำไส้แก้อาการบวมน้ำตามร่างกาย
  2. ใบ รักษางูสวัด แก้ไฟลามทุ่งแก้โรคดีซ่านช่วยรักษาโรคเริมยาขับปัสสาวะ ยาระบายช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำช่วยดับพิษ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  3. ผล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวาน ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคมะเร็งปอด แก้อาการไอ แก้อาการปวดท้องที่เกิดจากไข้ ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลในกระเพาะอาหาร ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย
  4. เมล็ด ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการทางประสาท ช่วยทำให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ ช่วยแก้อาการบวมน้ำ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น