วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ชื่อสมุนไพร
เพกา
ชื่ออื่นๆ
ลิ้นฟ้า(เลย) ลิ้นก้าง ลิ้นช้าง (ไทยใหญ่)มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) เบโก (นราธิวาส) ดุแก (แม่ฮ่องสอน) ลิ้นไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์
Oroxylum indicum (Linn.) Vent.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Bignoniaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้น กึ่งผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ สูง 5-12 เมตร เรือนยอดเล็ก กิ่งเปราะหักง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ต้นที่มีอายุน้อยมีกิ่งใหญ่ตรงกลางกิ่งเดียว เปลือกเรียบ มีใบเป็นกลุ่มตรงกลาง คล้ายกับต้นปาล์ม ภายหลังจากออกดอก ลำต้นจะแยกเป็นกิ่งระเกะระกะ เปลือกต้น สีน้ำตาลครีมอ่อน หรือเทาอ่อน แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม และแผลของใบยาวถึง 150 เซนติเมตร เกิดจากใบที่ร่วงไปแล้ว ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจายอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเรียบสีเทา มีรอยแผลเป็น จากการหลุดร่วงของใบ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ปลายคี่ ใบขนาดใหญ่ ยาว 60-200 เซนติเมตร เรียงตรงข้ามกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายยาว ขอบใบเรียบ ฐานใบสอบแคบ ใบเกลี้ยง หรือมีขนสีขาวสั้นๆ ด้านล่าง ท้องใบนวล ก้านใบบนสุดแยกออก 1 ครั้ง ก้านใบกลางแยก 2 ครั้ง และก้านใบล่างแยก 3 ครั้ง ทำให้เห็นใบทั้งหมดเป็นรูปสามเหลี่ยม  ก้านใบย่อยยาว 5-8 มิลลิเมตร ก้านใบข้าง และก้านใบร่วมโค้งพองออกที่ฐานและที่ข้อ ก้านใบยาว 0.5-2 เมตร ดอกช่อขนาดใหญ่แบบกระจะ ออกที่ปลายยอดเป็นกระจุก มีดอกย่อย 20-35 ดอก จะบานพร้อมกันคราวละ 2-3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 60-180 เซนติเมตร ยื่นออกมานอกทรงพุ่มของยอด ดอกย่อยขนาดใหญ่ 8-12 เซนติเมตร กลีบดอกสีนวลแกมเขียวโคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หรือม่วงด้านนอก หลอดกลีบดอกยาว 2-4 เซนติเมตร รูปแตร กลีบดอกหนา ขอบย่น ไม่มีพู หรือพูไม่เท่ากัน มีต่อมกระจายอยู่ด้านนอก ด้านในมีขนหนาแน่น ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นสาบฉุน และร่วงตอนเช้า มักจะมีดอกและผลในกิ่งเดียวกัน เกสรตัวผู้ 5 อัน ติดกับหลอดดอก โคนก้านมีขน เกสรตัวเมียมี 1 อัน กลีบเลี้ยงยาว 2-4 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ปลายไม่แยกเป็นกลีบอย่างเด่นชัด เมื่อเป็นผล กลีบเลี้ยงนี้จะเจริญเป็นเนื้อแข็งมาก ผลเป็นฝัก แบน โค้งเล็กน้อยที่ฐาน มีสันเล็กๆที่ด้านข้าง คล้ายรูปลิ้น ห้อยอยู่เหนือเรือนยอด กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 30-120 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม สีแดง ติดฝักยาก ฝักเป็นรูปดาบ เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนสีขาว  ขนาด 4-8 เซนติเมตร มีปีกบางโปร่งแสง พบบริเวณป่าเต็งรัง ป่าทุ่ง ป่าผสมผลัดใบ บริเวณ ไร่ สวน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม ยอดอ่อนรสชาติขม และดอก นำมาลวกกินเป็นผัก ฝักแก่ที่ยังไม่แข็งจะมีรสขมใช้ประกอบอาหารได้ แต่ต้องทำให้รสขมหมดไปโดยการเผาไฟให้ผิวไหม้เกรียม  แล้วขูดผิวที่ไฟไหม้ออก นำมาหั่นเป็นฝอย แล้วคั้นน้ำหลายๆหน แล้วจึงนำมาปรุงอหารได้ เช่น ผัด แกง เป็นผักจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณ    
             ตำรายาไทย  ใช้  เมล็ด ต้มน้ำดื่ม แก้ไอและขับเสมหะ ใช้เป็นยาระบาย เมล็ดแก่ มีรสขม เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ เมล็ดแห้ง ทำน้ำจับเลี้ยงแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ฝักแก่มีรสขมรับประทานได้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร ระงับไอ ฝักอ่อน มีรสขมร้อน ใช้เป็นยาขับลม ฝักแก่ มีรสขม แก้ร้อนในกระหายน้ำ เปลือกหรือแก่น ใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ และนำไปเข้ากับยาอื่นหลายตัว แก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงเลือด เป็นยาแก้พิษ เปลือกต้น รสฝาด ขม เย็น ช่วยสมานแผล ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้ท้องร่วง ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ ดับพิษโลหิต
            แพทย์ในชนบท  ใช้  ตำผสมกับเหล้าโรงพ่นตามตัวสตรีที่ทนอยู่ไฟไม่ได้ให้ผิวหนังชา ตำผสมกับน้ำส้มมดแดง และเกลือสินเธาว์ กินเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด ต้มน้ำกินเป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะจุกคอ ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต แก้บิด แก้จุกเสียด ฝนกับเหล้ากวาดปาก แก้พิษซางเม็ดสีเหลือง แก้ละออง แก้ซางเด็ก ทาแก้ปวดฝี แก้ฟกบวม ราก มีรสขมฝาด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ท้องเสีย ขับเหงื่อ แก้ไข้สันนิบาต ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้อักเสบฟกบวม ใบ มีรสฝาดขม ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง เจริญอาหาร แก้ปวดข้อ ราก รสฝาดขมร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร แก้ไข้สันนิบาต แก้ท้องร่วง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้บวมอักเสบ ทั้งห้า (ราก ลำต้น ใบดอก และผล ) มีรสฝาดขมเย็น เป็นยาสมานแผล แก้อักเสบฟกบวม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ เพื่อลมและโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น