ผักโขมในเมืองไทยมีหลายพันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารคือ ผักโขม ผักโขมหัดผักโขมหนามและผักโขมสวน ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน
ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักโขม (กลาง),ผักโหม,ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน),กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักโขมเป็นไม้พุ่มเตี้ยและเป็นพืชล้มลุกปีเดียว สูง 30-100 ซม. ลำต้นอวบน้ำมีสีเขียวตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก โคนมีสีแดงน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยมใบออกแบบสลับกว้าง 2.5-8 ซม.ยาว 3.5-12 ซม. ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังให้เป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น เมล็ดมีลักษณะกลมสีน้ำตาลเกือบดำ ขนาดเล็ก[
สรรพคุณทางยา
ทั้งต้น ดับพิษภายในและภายนอก แก้บิด มูกเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผื่นคัน แก้รำมะนาด รักษาฝี แผลพุพอง ใบสด รักษาแผลพุพอง ต้น แก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ ราก ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ
การกินผักขมให้อร่อย
ลวกพอสุขจิ้วกับแจ่ว
นำไปผัดน้ำมันหอย
นำไปปั่นดื่ม
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากอินเตอร์เน็ตครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น