วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แตงกวา

ชื่อวิทยาศาสตร์     Cucumis Sativus Linn.
ชื่อสามัญ             Cucumber
วงศ์                   CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นๆ                ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยงและแม่ฮองสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


         แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อยที่มีมือเกาะ ช่วยพยุงลำต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ลำต้นยายประมาณ 2-3 เมตร มีรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีมุมแหลม 3-5 แฉก ดอกเป็นดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะเกิดเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ดอกตัวเมียจะเกิดเดี่ยวๆ มีสีเหลือง สังเกตได้ง่าย คือมี ลักษณะคล้ายแตงกวาผลเล็ก ๆ ติดกับกลีบดอก ส่วนดอกตัวผู้จะมีเฉพาะก้านดอกเท่านัน ในการปลูกแตงกวา ถ้ามีดอกตัวเมียมากจะทำให้ได้ผลผลิดสูง
          ผลของแตงกวาในขณะยังเล็กจะสังเกตเห็นหนามได้อย่างชัดเจน หนามของแตงกวาจะมีสีขาวและสีดำ แตงกวาหนามสีดำจะเก็บได้เพียง 3-4 วัน หลังเก็บจากต้น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง นิ่ม ไม่กรอบ ส่วนแตงกวา ที่มีหนามสีขาวจะมีคุณสมบัติพิเศษ เก็บไว้ได้นานประมาณ 7 วัน โดยไม่นิ่ม และไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็ว


         สรรพคุณทางยา     

         ใบและเนื้อในเมล็ดจากเมล็ดแก่นำมากินเป็นอาหาร เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย ผลและเมล็ดอ่อน 
มีสรรพคุณฝาดสมาน เสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหาย
น้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ทำให้ผิวขาวใสและนุ่มนวล ช่วยบำรุงผมและเล็บ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์
และบวมน้ำถ้ากินเป็นประจำจะป้องกันการเกิดโรคหัวใจ เถา ช่วยลดความดันเลือด หั่นแตงกวาเป็นชิ้นบางๆ
 แล้วนำมาแปะทิ้งไว้เพื่อพอกหน้า หรือนำแตงกวามาปั่นแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ทาหน้า สามารถเก็บไว้ได้
นาน 2 วัน ช่วยให้ความชุ่มชื่น บำรุงผิวกระชับรูขุมขน ลดการเกิดสิวและยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ ลบรอยแผล
เป็น บำรุงผิว ขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก ยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย
ข้อควรระวัง
ผู้ที่กระเพาะอาหารเป็นแผลไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น