สะเดา ชื่อสามัญ Neem, Neem Tree, Nim, Margosa, Quinine, Holy tree, Indian Margosa Tree, Pride of china, Siamese Neem Tree
สะเดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica A.Juss. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica var. siamensis Valeton, Melia azadirachta L.) วงศ์กระท้อน (MELIACEAE)
สมุนไพรสะเดา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สะเดา สะเดาบ้าน (ภาคกลาง), สะเลียม (ภาคเหนือ), เดา กระเดา กะเดา (ภาคใต้), จะดัง จะตัง (ส่วย), ผักสะเลม (ไทลื้อ), ลำต๋าว (ลั้วะ), สะเรียม (ขมุ), ตะหม่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ควินิน (ทั่วไป), สะเดาอินเดีย (กรุงเทพฯ), กาเดา, เดา, ไม้เดา เป็นต้น โดยสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา และประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วประเทศ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สะเดาจะมีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ภาคเหนือเรียก สะเลียม ภาคใต้เรียก กะเดา เป็นต้น สะเดาไทยมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ สะเดายอดเขียวและสะเดายอดแดง ซึ่งสะเดา ยอดเขียวจะมีความขมน้อยกว่าหรือบางต้นอาจจะขมน้อยจนได้ชื่อว่า สะเดาหวานหรือ สะเดามัน แต่สะเดายอดแดงจะมีความขมมากกว่า สะเดาไทยเป็นไม้ยืนต้นโตเร็วชนิดหนึ่ง เจริญได้ดีในแถบร้อน ทนต่อสภาพ อากาศแห้งแล้ง สามารถขึ้นได้ในดินทุกประเภท ยกเว้นดินที่มีน้ำขัง ดินเค็ม เป็นกรด หรือด่างจัด ลำต้นสูง 15-20 เมตร เปลือกไม้ค่อนข้างหนาสีเทาแก่ แตกเป็นร่องตามยาว เนื้อไม้ สีน้ำตาลแดง ยอดอ่อนสีเขียวหรือน้ำตาลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ผลัดใบช่วงสั้นๆ ปีละ 1 ครั้ง และจะออกดอก ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลมีลักษณะและขนาดคล้ายพวงองุ่น รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลจะสุกประมาณ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม เมื่อผลสุกแล้วจะมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี มีสีเขียว ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
สรรพคุณทางยา
สะเดามีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรแทบทุกส่วน แพทย์แผนไทยมีการนำมาปรุงเป็นยามาแต่โบราณ พอแยกได้ดังนี้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น