วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


วงค์กก

พืชวงศ์กก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperaceae; อังกฤษSedge
            กกเป็นไม้ล้มลุก มีประมาณ 4,000 ชนิดแพร่พันธุ์กระจายทั่วโลก ชอบที่ชื้นแฉะ ขึ้นในที่ระดับต่ำตามหนอง บึง ทางระบายคันคูน้ำและโคลนเลน ใน 46 ประเทศจัดพืชวงศ์กกเป็นวัชพืช มีหลายชนิดใช้เป็นอาหารเช่นEleocharis toberosa และ Scirpus toberosus และหลายชนิดนำมาทำเครื่องจักสานได้อย่าง เสื่อ กระจาด กระเช้า หมวก เช่นกกชนิด Scirpus mucronatusLepironia mucronataCarex brizoides เป็นต้น
       กกเป็นไม้ล้มลุก (herb) อยู่ในวงศ์ (family) Cyperaceae มีชื่อสามัญเรียกว่า Sedge พบกระจายอยู่ทั่วโลก มีประมาณ 4000 ชนิด ชอบที่ชื้นแฉะ ขึ้นในที่ระดับต่ำตามหนอง บึง ทางระบายคันคูน้ำและโคลนเลน ใน 46 ประเทศจัดกกเป็นวัชพืชในนาข้าว และกกทรายหรือกกหัวแดง (Cyperus iria) พบใน 22 ประเทศ มีหลายชนิดใช้เป็นอาหารเช่น Eleocharis toberosa และ Scirpus toberosus และหลายชนิดใช้สานเสื่อทำกระจาด กระเช้า หมวก เช่น Scirpus mucronatus, Lepironia mucronata, Carex brizoides เป็นต้น




กกมีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก มีลักษณะที่แตกต่างจากหญ้าคือ กกมักมีลำต้นตัน และเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุม บางชนิดมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องๆ มีกาบใบอยู่ชิดกันมาก และที่สำคัญคือเกือบไม่มีลิ้นใบ บางชนิดไม่มีเลย ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของกกคือดอกแต่ละดอกจะมีกาบช่อย่อยห่อหุ้มหรือรองรับเพียงอันเดียว กกมีไหลเลื้อยไปใต้ดินและจากไหลก็จะแตกเป็นลำต้นที่ตัน โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน และเมื่อผ่าลำต้นดูตามขวาง จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหรือสามมุมดังได้กล่าวมาแล้ว ลำต้นกกจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ใบของกกเหมือนกับใบของหญ้า แต่จะเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นสามมุมหรือสามตำแหน่งรอบโคนต้นและมีกาบห่อหุ้มลำต้นและไม่มีลิ้นใบ
ช่อดอกกกจะเกิดที่ปลายลำต้นเป็นหลายแบบ เช่น ช่อแยกแขนง, ช่อซี่ร่ม หรือ ช่อเชิงลด และมีดอกขนาดเล็กเป็นทั้งดอกที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์เพศ โดยมีดอกรวมเรียกว่าช่อดอกย่อย ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยหนึ่งหรือหลายดอก แต่ละดอกมีริ้วประดับรองรับ ส่วนกลีบดอกนั้นไม่มีหรืออาจมีแต่เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นเกล็ด หรือขนแข็งเล็กๆ ในดอกกกจะมีเกสรเพศผู้แยกกันอยู่ ส่วนเกสรเพศเมียจะมีก้านแยกเป็นสอง-สามแฉก หรือบางครั้งแยกเป็นสอง-สามเส้น และมีรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก ภายในมีห้องเดียวและมีหนึ่งเมล็ด
สรรพคุณของสมุนไพร
ต้น: รสจืดเย็น ต้มเอาน้ำดื่ม รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี
ใบ: รสเย็นเบื่อ ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล ต้มเอาน้ำดื่ม ฆ่าพยาธิ ฆ่าเชื้อโรคภายใน
ดอก: รสฝาดเย็น ต้มเอาน้ำอม แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก แก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย หรือปากซีด
หัว: รสขม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ละลายน้ำร้อนดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เสมหะเฟื่อง ขับน้ำลาย
ราก: รสขมเอียน ต้มเอาน้ำดื่ม หรือตำกับเหล้า คั้นเอาน้ำดื่ม แก้ช้ำใน ขับโลหิตเน่าเสีย แก้ตกเลือดจากอวัยวะภายใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น