วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

 ส้มโอ

ชื่อสามัญ : Pummelo
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima Merr.
ชื่ออื่น : สีมาบาลี สังอู กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียกว่า มะขุน มะโอ

ส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู)  มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pampelmoose ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางาคตะวันตกของประเทศ


        ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเหมือน มะกรูด คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า "กลีบ" มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1 เมล็ด ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มีวิตามินซีมาก


       สรรพคุณทางยา 
       ผลส้มโอ ขับลมในลำไส้ กเมาเหล้า เปลือกผลของส้มโอจะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก แก้ไส้เลื่อน ใบส้มโอ นำมาต้มพอกสรีษะแก้ปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วย ดอกส้มโอ แก้อาการปวดกระบังลม และปวดในกระเพาะอาหาร เมล็ดส้มโอ ก็มีประโยชน์อยู่มากเช่นกัน แก้ไส้เลื่อน ลำไส้หดตัว แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหารได้อย่างดี

เปลือกส้มโอ สามารถนำไปแช่อิ่มได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น