วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


กล้วยเล็บมือนาง 

ชื่อสามัญ Banana 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Musa spp.


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดงฃ


ใบ ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นใบสีชมพูอมแดง ใบสีเขียวอ่อน ค่อนข้างแคบ 


ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด


ผล หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลเล็กรูปโค้งงอ ปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอมแรง เนื้อสีเหลือง รสหวาน

สรรพคุณทางยา

         กล้วยเล็บมือนางมีน้ตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโคส มีเส้นใยและกาก

อาหาร ช่วยเพิ่มพลังงานสำหรับการออกกำลังกาย ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เพราะมีธาตุเหล็กสูง โรค

ความดันโลหิตสูง เพราะมีธาตุโปรแตสเซี่ยมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ และช่วยเสริมกำลังสมองโรค

ท้องผูก โรคความ ซึมเศร้า เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า Try potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ

ถูกเปลี่ยนเป็น Serotonin ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และมีความสุข ระบบประสาท เพราะกล้วยมีวิตามิน B 

โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย 

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ควรรับประทานกล้วยทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าทารกที่เกิดมาจะมีอุณหภูมิเย็น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น