วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


กระเจี๊ยบเขียว (Okra, Lady's Finger) เป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณ 1 ปี เจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน คือมีอุณหภูมิระหว่าง 18-35 องศาโดยประมาณ เป็นพืชที่สามารถนำมาเป็นสมุนไพรได้ เพราะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร
ในประเทศอินเดียเรียกกระเจี๊ยบเขียวว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนเรียกว่า บามี (Bamies) ส่วนของประเทศไทยนั้นแบ่งแยกเป็นภาค ภาคกลางเรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือมอญ ภาคเหนือเรียกมะเขือพม่า มะเขือขื่น มะเขือมอญ มะเขือละโว้ กระเจี๊ยบเขียวนั้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบ แอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ระเจี๊ยบเขียวตามลำต้นมีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ ดอกมีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด ฝักคล้ายนิ้วมือผู้หญิง ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวาน กรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว

สรรพคุณทางยา
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin),เมือก (mucilage) ซึ่งเกิดจากสารประกอบ acetylated acidic polysaccharide และกรดกาแลคทูโรนิค (galactulonic acid) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น