ผักกาดหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น
มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง[ต้องการอ้างอิง] ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ
สายพันธุ์ของผักกาดหอมแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ผักกาดหอมที่ห่อหัวคล้ายกะหล่ำปลี (head lettuce)
- ผักกาดหอมชนิดธรรมดาไม่ห่อ (leaf lettuce)
- ผักกาดหอมที่มีลำต้นยาว (stem lettuce)
ในประเทศไทยนิยมปลูก 2 ประเภท ได้แก่
- คริสป์เฮด (Crisp Head) หรือไอซ์เบิร์ก (Iceberg) คือผักกาดหอมห่อหรือผักกาดแก้ว มีลักษณะใบบางกรอบและขอบใบหยัก ปลูกได้ในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนพอปลูกได้บ้างในบริเวณที่สูงทางภาคเหนือบางเขต ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 15.5–21 องศาเซลเซียส พันธุ์คริสป์เฮดเช่น
- เกรต เลก 659 (Great Lake 695 TARII) เป็นพันธุ์หนักปานกลาง ใบสีเขียวเข้มหยัก พันธุ์นี้ไม่ค่อยมีปัญหาใบไหม้ (Sun burn)
- เกรต เลก 366 (Great Lake 366 TAII) เป็นพันธุ์ค่อนข้างเบา หัวห่อกลม มีใบสีเขียว รอบนอกใบหยัก มีความต้านทานโรคใบแห้วทิปเบิร์น (Tip Burn)
- ซัมเมอร์ เลก (Summer Lake) เป็นพันธุ์เบา หัวห่อกลมสีเขียวอ่อน ใบหนัก
- ลีฟ (Leaf) หรือลูสลีฟ (Loose Leaf) คือผักกาดหอมใบหยิก ใบมีลักษณะหยิกเป็นคลื่นสีของใบ มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีแดง แต่เรามักจะพบเห็นใบสีเขียวอ่อนมากกว่า พันธุ์นี้สามารถปลูกได้ตลอดปี และจะปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม–เมษายน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 21-26.6 องศาองศาเซลเซียส พันธุ์ลีฟเช่น
- แกรนด์ แรปปิด (Grand Rapid) มีใบสีเขียวอ่อน ใบม้วนและหยักอัดกันแน่น ต้นใหญ่เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด
- แบล็ก ซีดเดด ซิมป์สัน (Black Seeded Simpson) เมล็ดสีดำ มีต้นใหญ่ ใบหยักฝอยยู่ยี่อัดกันแน่นมาก
สรรพคุณทางยา
- ผักกาดหอม มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)
- น้ำคั้นจากทั้งต้น นำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย โดยดร. ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน # ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสดๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง
- ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือด หรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง
- น้ำคั้นจากใบ ช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ)
- น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ)
- เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด,ต้น)
- สรรพคุณผักกาดหอม ช่วยขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ)
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
- การรับประทานผักกาดหอมจะช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้ (ทั้งต้น)
- น้ำคั้นจากทั้งต้น ใช้เป็นยาระบายได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยขับลมในลำไส้ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
- ช่วยขับพยาธิ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
- ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ,เมล็ด)
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เมล็ด)
- เมล็ดผักกาดหอม ใช้รักษาโรคตับ (เมล็ด)
- น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้ทาฝีมะม่วงที่รีดเอาหนองออกแล้วได้ (ทั้งต้น)
- ช่วยระงับอาการปวด (เมล็ด)
- ช่วยแก้อาการปวดเอว (เมล็ด)
- เมล็ดผักกาดหอม สรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น