วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ชื่อสมุนไพร
น้ำเต้าต้น
ชื่ออื่นๆ
น้ำเต้าญี่ปุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
Crescentia cujete L.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Bignoniaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 2-10 เมตร กิ่งก้านแผ่ตามแนวราบ ใบดกสีเขียวสด ใบเดี่ยวรูปช้อนเรียงสลับ มีใบประดับขนาดเล็กรูปร่างคล้ายใบออกที่โคนใบจำนวน 2 ใบ อยู่ตามข้อของกิ่ง ปลายใบแหลมเล็กน้อย โคนใบสอบแหลม ไม่มีก้านใบ ใบสีเขียวสด ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร ใบประดับทั้งสอง กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 4.5 เซนติเมตรดอกเดี่ยวห้อยลง รูปปากแตรบานเล็กน้อย สีเขียวอมเหลือง มีลายสีม่วง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกยาว 2-3 นิ้ว เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ผลทรงกลมโต ขนาด 15-50 เซนติเมตร ผิวเรียบ เกลี้ยง และแข็ง ภายในมีเนื้อและเมล็ดแบนๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด




สรรพคุณ    
              หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้ แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้อ่อนเพลียสำหรับผู้หญิงหลังคลอดบุตร
              ตำรายาไทย  ใช้ ใบ รสฝาดเฝื่อน นำใบสดมาตำพอกหรือบด แล้วนำมาพอกแก้ปวดศีรษะ เปลือกต้น รสฝาด ต้มชะล้างบาดแผล ดื่มแก้ท้องเดิน ผลดิบ รสเปรี้ยว ระบายท้อง ถ้ากินมากจะทำให้ท้องเสียได้ เนื้อในผล รสอมเปรี้ยวเล็กน้อย ขับเสมหะ พอกแก้ปวดศีรษะ ระบายท้อง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้บิด พอกแก้ปวดศีรษะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น