ชื่อสมุนไพร
| สังกรณี |
ชื่ออื่นๆ
| กำแพงใหญ่ (เลย) ขี้ไฟนกคุ่ม (ปราจีนบุรี) หญ้าหงอนไก่ หญ้าหัวนาค (เหนือ) กวางหีแฉะ |
ชื่อวิทยาศาสตร์
| Barleria strigosa Willd. |
ชื่อพ้อง
| B. caerulea Roxb., B. polytricha Wall., Pseudobarleria hirsuta Oerst. |
ชื่อวงศ์
| Acanthaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร เกือบทุกส่วนปกคลุมด้วยขน มีขนสีน้ำตาลตามยอดอ่อนและกิ่งอ่อน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ถึงรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ฐานใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง แผ่นใบด้านบนมีขนประปราย ด้านท้องใบมีขนตามเส้นใบ เส้นใบข้าง 4-6 คู่ ก้านใบสั้น ช่อดอกกระจะแน่น ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด มีดอกย่อยประมาณ 10 ดอก ใบประดับรูปใบหอก มี 2 แผ่น กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 10 มม. ปลายแหลม ขอบหยักซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย หุ้มโคนดอก ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซม. ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยง 2 กลีบ เรียงตัวตรงข้ามกันเป็นคู่ เชื่อมกันที่โคน ปลายแยก คู่ด้านนอกรูปไข่ กว้างประมาณ 1.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5 ซม. ปลายแหลม ขอบหยักซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย คู่ด้านใน รูปใบหอก ขนาดเล็ก กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 10 มม. ปลายเรียวแหลม ขอบกลีบมีขนต่อม กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอด รูปปากเปิด สีม่วงอ่อน หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2.5 ซม. ด้านนอกเรียบ ด้านในขรุขระ กลีบปากด้านบนมี 4 แฉก แต่ละแฉกมีขนาดใกล้เคียงกัน รูปไข่แกมรูปรี กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. ปลายแฉกมนถึงกลม ขอบเรียบ ผิวด้านนอกมีขนต่อม กลีบปากด้านล่างมี 1 กลีบ ขนาดใหญ่ รูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายแฉกมน กลม ถึงเว้าตื้น ขอบเรียบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบดอก แบ่งเป็น 2 คู่ คู่ยาวมีก้านเกสรยาวประมาณ 2 ซม. ช่วงโคนมีขนสั้น ช่วงปลายเรียบ อับเรณูรูปขอบขนาน สีม่วง กว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 4 มม. แตกตามแนวยาว ส่วนเกสรเพศผู้คู่สั้น มีก้านเกสรยาวประมาณ 4 มม. มีขนสั้นปกคลุมตลอดความยาว อับเรณูมีขนาดเล็ก กว้าง 0.5 มม. ยาวประมาณ 1 มม. มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน ยาวประมาณ 3 มม. แทรกอยู่ระหว่างกลาง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 มม. ผิวเรียบ ด้านในแบ่งเป็น 2 ช่อง แต่ละช่องมี 2 ออวุล ติดอยู่ที่แกนจานฐานดอก สูงประมาณ 2 มม. หุ้มรอบรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาว 4-5 ซม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มม. ผลแห้งแตก สีน้ำตาล ผิวเกลี้ยง เมล็ด รูปกลมแบน 4 เมล็ด ชอบขึ้นในที่ร่ม พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงมกราคม
ไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร เกือบทุกส่วนปกคลุมด้วยขน มีขนสีน้ำตาลตามยอดอ่อนและกิ่งอ่อน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ถึงรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ฐานใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง แผ่นใบด้านบนมีขนประปราย ด้านท้องใบมีขนตามเส้นใบ เส้นใบข้าง 4-6 คู่ ก้านใบสั้น ช่อดอกกระจะแน่น ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด มีดอกย่อยประมาณ 10 ดอก ใบประดับรูปใบหอก มี 2 แผ่น กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 10 มม. ปลายแหลม ขอบหยักซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย หุ้มโคนดอก ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซม. ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยง 2 กลีบ เรียงตัวตรงข้ามกันเป็นคู่ เชื่อมกันที่โคน ปลายแยก คู่ด้านนอกรูปไข่ กว้างประมาณ 1.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5 ซม. ปลายแหลม ขอบหยักซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย คู่ด้านใน รูปใบหอก ขนาดเล็ก กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 10 มม. ปลายเรียวแหลม ขอบกลีบมีขนต่อม กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอด รูปปากเปิด สีม่วงอ่อน หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2.5 ซม. ด้านนอกเรียบ ด้านในขรุขระ กลีบปากด้านบนมี 4 แฉก แต่ละแฉกมีขนาดใกล้เคียงกัน รูปไข่แกมรูปรี กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. ปลายแฉกมนถึงกลม ขอบเรียบ ผิวด้านนอกมีขนต่อม กลีบปากด้านล่างมี 1 กลีบ ขนาดใหญ่ รูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายแฉกมน กลม ถึงเว้าตื้น ขอบเรียบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบดอก แบ่งเป็น 2 คู่ คู่ยาวมีก้านเกสรยาวประมาณ 2 ซม. ช่วงโคนมีขนสั้น ช่วงปลายเรียบ อับเรณูรูปขอบขนาน สีม่วง กว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 4 มม. แตกตามแนวยาว ส่วนเกสรเพศผู้คู่สั้น มีก้านเกสรยาวประมาณ 4 มม. มีขนสั้นปกคลุมตลอดความยาว อับเรณูมีขนาดเล็ก กว้าง 0.5 มม. ยาวประมาณ 1 มม. มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน ยาวประมาณ 3 มม. แทรกอยู่ระหว่างกลาง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 มม. ผิวเรียบ ด้านในแบ่งเป็น 2 ช่อง แต่ละช่องมี 2 ออวุล ติดอยู่ที่แกนจานฐานดอก สูงประมาณ 2 มม. หุ้มรอบรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาว 4-5 ซม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มม. ผลแห้งแตก สีน้ำตาล ผิวเกลี้ยง เมล็ด รูปกลมแบน 4 เมล็ด ชอบขึ้นในที่ร่ม พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงมกราคม
สรรพคุณ
ตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้อาการไอเป็นเลือด บำรุงกำลัง
ตำรายาไทย ราก รสขม ใช้ปรุงเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษไข้ทั้งปวง ถอนพิษไข้กาฬ ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ แก้โลหิตกำเดา ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง ดองเหล้าบำรุงกำหนัด
ตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้อาการไอเป็นเลือด บำรุงกำลัง
ตำรายาไทย ราก รสขม ใช้ปรุงเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษไข้ทั้งปวง ถอนพิษไข้กาฬ ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ แก้โลหิตกำเดา ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง ดองเหล้าบำรุงกำหนัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น