วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


       พริกชี้ฟ้า ชื่ออังกฤษ: Cayenne pepper, chili spur pepper, long fed pepper, spur pepper ชื่อพื้นเมือง: พริกชี้ฟ้า พริกเดือยไก่ พริกบางช้าง พริกหนุ่ม (ภาคเหนือ) พริกมัน (กรุงเทพฯ) พริกแล้ง (เชียงใหม่) พริกซ่อม พริกขี้หนู พริกนก พริกแด้ (เหนือ) พริกขี้นก ดีปลีขี้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) พริกยักษ์ - พริกหวาน พริกฝรั่ง พริกหลวง พริกแม้ว พริกกะเหรี่ยง พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกสันป่าตอง พริกภูเรือ พริกจีน พริกเจแปน พริกต้ม และพริกแจว เป็นต้น

       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามหรือออกสลับ รูปใบหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร ดอกสีขาว ออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกห้อยลง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลรูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียวแหลม มักโค้งงอ ยาว 6-9 เซนติเมตร ผิวเป็นมันสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเมล็ดแบนสีนวลจำนวนมาก



       สรรพคุณทางยา

1. ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดและทำให้การหายใจสะดวกขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือสารกีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องจากการเป็นหวัด
2. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความดัน ทั้งนี้เพราะสารพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีช่วยเสริมสร้างหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือดทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเทอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างคอเลสเทรอลชนิดไม่ดี ( LDL)
4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
5. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
6. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ที่ดี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น